การยื่นภาษีเงินได้เป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นประจำทุกปีสำหรับผู้มีรายได้ หากในรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มเติมก็จะต้องจ่ายเพิ่ม แต่บางคนก็สามารถได้เงินภาษีกลับคืนมาด้วยเช่นกัน เพราะมีรายการบางอย่างที่มีการกำหนดให้สามารถใช้ลดหย่อนการจ่ายภาษีได้ ดังนั้นก่อนการจ่ายภาษี เราสามารถวางให้คำนวณภาษีให้สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้มากที่สุดเพื่อประหยัดเงินในกระเป๋า ซึ่งสิทธิ์การลดหย่อนนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงในทุกปีจำเป็นต้องติดตามให้ดีเพื่อจะได้วางแผนได้อย่างเหมาะสม

เรามาดูกันดีกว่าว่าในปี 2564 เราสามารถคำนวณภาษีเพื่อลดหย่อนส่วนใดได้บ้าง

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

เป็นค่าลดหย่อนที่หักออกเพราะคิดเป็นส่วนของการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ค่าลดหย่อนส่วนตัว

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที

ค่าลดหย่อนคู่สมรส

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ 60,000 บาทในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้

ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร

สามารถคำนวณภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยสามีสามารถใช้ลดหย่อนได้ในกรณีที่ภรรยาไม่มีรายได้

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ลดหย่อนการฝากครรภ์และคลอดบุตรคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล

ค่าลดหย่อนภาษีบุตร

สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท การคำนวนภาษีเพื่อลดหย่อนในส่วนของการเลี้ยงดูบุตรมีเงื่อนไขดังนี้

  • ต้องเป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมตามกฎหมายอายุไม่เกิน 20 ปีหรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังศึกษาอยู่
  • กรณีบุตรอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถจะลดหย่อนในกรณีของบุตรคนที่ 2 ได้
  • บุตรคนที่ 2 ที่เกิดก่อนปีพ.ศ. 2561 จะลดหย่อนได้ 30,000 บาท หากเกิดหลังจากปีพ.ศ. 2561 จะสามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  • หากเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่มี
  • สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายได้ไม่เกิน 3 คน กรณีที่มีทั้งบุตรและบุตรบุญธรรมจะนับที่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน เช่นหากมีบุตร 4 คนและบุตรบุญธรรม 2 คน บุตรทั้ง 4 คนจะสามารถลดหย่อนภาษีได้แต่บุตรบุญธรรมจะไม่สามารถยื่นได้เพราะเกิน 3 คนแล้ว

ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท จำนวนไม่เกิน 4 คน ไม่นับบิดามารดาบุญธรรม และสามารถลดหย้อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท บิดามารดาจะต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาทและมีอายุมากกว่า 60 ปี

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ลดหย่อนการเลี้ยงดูบิดามารดาคือ หนังสือรับรองการเลี้ยงดู(ลย.30) ระบุลายมือชื่อว่าบุตรคนใดจะเลี้ยงบิดามารดา

ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ 

สามารภคำนวนลดหย่อนได้จำนวนคนละ 60,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ลดหย่อนการอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพคือ หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

หมายเหตุ กรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา-บุตรหรือคู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วนสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท ตามเงื่อนไขของทั้งสองส่วน

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน

เงินประกันสังคม

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ซึ่งในปีพ.ศ. 2564 นี้ได้มีนโยบายลดอัตราการเก็บเงินสมทบของกองทุนประกันสังคมทุกมาตราทั้ง ม.33 ม.39 และม.40 ทำให้การลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ลดน้อยลงไปด้วยดังนี้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้ลดหย่อนภาษีเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 5,100
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้ลดหย่อนภาษีเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 3,483
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้ลดหย่อนภาษีเงินประกันสังคมตามการสมทบทางเลือกสูงสุด 700, 1,000 และ 3,000 ตามลำดับ

เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์

สามารถคำนวณภาษีลดหย่อนได้ตามการจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • เบี้ยประกันจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • ทำขึ้นกับบริษัทในประเทศไทย
  • หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าผิดเงื่อนไข ไม่สามารถลดหย่อนได้
  • ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

เบี้ยประกันสุขภาพและเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ตามการจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทและเมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญ

สามารถคำนวนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในจำนวนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • เบี้ยประกันจะต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • หากไม่มีเบี้ยประกันชีวิตอื่นสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
  • กรณีเป็นคู่สมรสที่มีเบี้ยประกันแบบบำนาญสามารถแยกยื่นเพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนของตนเองได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF: Retirement Mutual Fund)

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF: Super Saving Fund)

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุด 200,000 บาท โดยให้สิทธิ์ประโยชน์สำหรับการลดหย่อนภาษี 5 ปี

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) / กองทุนบำเน็จบำนาญราชการ(กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่เสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนการออมแห่งชาติ(กอธ.)

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

หมายเหตุ ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญรวมกับการลงทุนในการวางแผนเกษียณซึ่งมีกองทุน RMF กองทุนรวม SSF กองทุนบำนาญราชการ(กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชนและกองทุนการออมแห่งชาติสามารถคำนวณภาษีลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

เงินบริจาคทั่วไป

สามารถคำนวณภาษีลดหย่อนได้ 10% ตามที่จ่ายจริงหลังการหักลดหย่อนภาษี

เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมเพื่อประโยชน์ของสาธารณะและบริจาคเพื่อสถานพยาบาลรัฐ

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้ 2 เท่าของตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้สูงสุด 10,000 บาท 

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาคคือ ใบอนุโมทนาบัตรหรือใบเสร็จรับเงินที่มีชื่อองค์กรที่บริจาค วันเดือนปีที่ออก ชื่อผู้บริจาค และจำนวนเงิน แต่หากบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Donationไม่ต้องใช้หลักฐาน

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

สามารถคำนวนภาษีลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท กรณีมีผู้กู้ร่วมจะได้คนละ 50,000 บาท รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการลดหย่อนภาษีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์คือ หนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยจากเจ้าหนี้จำนอง

รายการลดหย่อนมากมายนี้หากคำนวนภาษีวางแผนเป็นอย่างดีก็สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในกระเป๋าได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ลองคำนวนกันดูนะ

Jobcan Payroll

ออกสลิปเงินเดือน คำนวณภาษี คิดเงินเดือนออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg