เมื่อบริษัทให้ลางานแบบไม่รับค่าจ้าง/เงินเดือน (Leave Without Pay) จะมีวิธีจัดการอย่างไร
ทุกองค์กรหรือบริษัทต้องมีการมอบสิทธิ์วันลาให้กับพนักงานเพราะเป็นสิ่งที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายแรงงาน ซึ่งสิทธิ์การใช้งานนั้นย่อมเป็นสิ่งที่พนักงานจะบริหารกันเอง และในบางบริษัทยังมีการให้สิทธิ์การลาในจำนวนที่แตกต่างกันด้วย แต่ถึงอย่างนั้นหลายบริษัทก็ยังคงให้สิทธิ์การลาแบบไม่รับเงินเดือนหรือที่เรียกกันว่า Leave Without pay นั่นเอง ซึ่งบางครั้งวิธีนี้ก็สร้างปัญหาให้กับบริษัทอยู่บ้างเช่นกัน
วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาวิธีการจัดการหรือมาตรการที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการลางานแบบไม่รับค่าจ้างของพนักงานที่ลางานบ่อยครั้งจนกระทบกับประสิทธิภาพการทำงานของทีมหรือบริษัท
ทำความรู้จักกับ Leave Without pay หรือการลางานแบบไม่รับค่าจ้าง
Leave Without pay หรือการลางานแบบไม่รับค่าจ้าง คือการขาดงานโดยหักค่าจ้างออกตามวันที่ขาดงานและยังคงสถานะการเป็นลูกจ้างดังเดิม แต่สามารถหยุดงานได้ไม่ต่างจากวันลาพักร้อน ทั้งนี้ในบางบริษัทอนุญาตให้พนักงานสามารถหยุดระยะสั้นแบบไม่รับค่าจ้างในกรณีที่แจ้งเรื่องลาพักหรือใช้วันลาพักร้อนหมดแล้ว หรือจะเป็นการลางานระยะยาวเพื่อเรียนต่อหรือทำธุระอื่นๆ ก็ได้ ซึ่งการลางานเช่นนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่มีการตกลงกับบริษัทแล้วเท่านั้น
มาตรการการรับมือการลางานแบบไม่รับค่าจ้าง
แม้ว่าจะบอกว่าเป็นการตกลงกันระหว่างบริษัทและพนักงานแต่ในบางครั้งการลางานแบบไม่รับเงินเดือนก็เป็นทางเลือกที่บริษัทยื่นให้เมื่อเผชิญกับวิกฤต แล้วพนักงานควรรับมืออย่างไร
คำนวณค่าใช้จ่าย
อย่างแรกที่พนักงานควรทำเลยคือกลับมาดูเงินที่เหลืออยู่ทั้งหมดของตนเองและคำนวณดูว่าสามารถใช้จ่ายได้ครอบคลุมตามระยะเวลาการหยุดงานของบริษัทหรือไม่ โดยคำนวณให้ชัดเจนทั้งค่ากินอยู่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยให้มีเงินสำรองเผื่อเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝัน
ตรวจสอบเงื่อนไขในการหยุดงาน
หลังจากได้รับสัญญาหรือข้อตกลงในการลางงานไม่รับค่าจ้างแล้ว ให้ตรวจสอบถึงเงื่อนไขให้ดีว่าจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง มีผลเสียอย่างไรบ้าง เพื่อคำนวณถึงความคุ้มค่าในการรอคอยและคำนวณถึงความเป็นไปได้ที่จะสามารถอยู่รอดรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง หากมีเงื่อนไขที่รับไม่ได้ จะสามารถต่อรองกับบริษัทได้หรือไม่ ควรตรวจสอบให้มั่นใจ
วางแผนรับมือความเสี่ยง
เดิมทีการทำงานทุกวันและรับเงินทุกเดือนเป็นความมั่นคงอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อดีของการทำงานบริษัทเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่หากมีการลางานแบบไม่รับค่าจ้างเกิดขึ้นย่อมแปลได้ว่าพนักงานกำลังเผชิญกับความเสี่ยงอยู่ แล้วจะมีการวางแผนรับมืออย่างไรจึงจะเหมาะสม โดยในช่วงเวลาที่ลาหยุดอาจมีการเริ่มทำธุรกิจเล็กน้อยหรือมองหางานพาร์ทไทม์เพื่อหารายได้มาให้พอใช้จ่ายต่อไป
มองหางานอดิเรกที่สร้างรายได้
สำหรับใครที่กังวลอย่างมากถึงหนทางในอนาคตของบริษัท สามารถใช้เวลาว่างที่ลาพักนี้ในการเริ่มต้นงานอดิเรก การค้าขายหรือการลงทุนขนาดเล็กที่สามารถทำได้แม้จะกลับไปทำงานเอาไว้ก่อนเพื่อให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกหากบริษัทเกิดการ lay off หรือเลิกจ้างพนักงาน ทั้งยังกลายเป็นงานสร้างรายได้ให้ช่วงเวลาที่ไม่ได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนน้อยนี้ได้มีรายรับเข้ามาช่วยเหลือบ้าง
เตรียมพร้อมสู่ทางเลือกที่แย่ที่สุด
เมื่อเกิดการลางานแบบไม่รับเงินเดือนขึ้นย่อมเป็นสัญญาณหนึ่งที่ต้องตื่นตัวถึงความเป็นไปได้ในทุกทางที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเรา อย่างเช่น บริษัทตัดสินใจเลิกจ้าง เป็นต้น ในกรณีนี้พนักงานจะสามารถมีทางเลือกอะไรได้บ้าง ควรมีการรับมืออย่างไร ให้วางแผนเอาไว้แต่ต้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากทางที่แย่ที่สุดเกิดขึ้นจริง
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูงอย่างนี้ สิ่งที่หลายบริษัทเลือกใช้มักเป็นการลดต้นทุนและความเสี่ยงลงจึงทำให้เกิดการสร้างข้อตกลงเพื่อให้พนักงานลางานแบบไม่รับเงินเดือนนั่นเอง หากไม่เตรียมความพร้อมรับมือเอาไว้ก่อนย่อมยากที่จะไม่เจอปัญหาอย่างแน่นอน
Jobcan Payroll
ออกสลิป คำนวณภาษี คิดเงินเดือนออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg
Recent Comments