คำนวณภาษีเงินได้ไม่ยากอย่างที่คิด เรื่องง่ายๆ ที่มนุษย์เงินเดือนทำได้หากวางแผนดี
เปิดศักราชใหม่แห่งการทำงาน หนึ่งเรื่องของมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเตรียมตัวกันทุกต้นปีก็คือการยื่นภาษี เพราะตลอดปีที่อดทนทำงานกันมานั้นแต่ละคนก็มีรายรับที่เข้ามาแตกต่างกัน ดังนั้นในการคำนวณภาษีเพื่อยื่นกับสรรพากรของแต่ละคนก็ย่อมมีรายละเอียดที่แตกต่างกันด้วย แต่ไม่ว่าจะยื่นกันมาสักกี่ปีก็ไม่เคยมีครั้งไหนที่จะทำได้คล่อง หรือเข้าใจในกระบวนการยื่นภาษีแบบแจ่มแจ้ง เพื่อคลายความสงสัยด้านการยื่นภาษีในปีนี้ JOBCAN รวบรวมข้อสงสัยที่คนเสียภาษีถามกันอยู่ทุกปีถึง 8 ข้อ รับรองว่า อ่านก่อน รู้ก่อน หมดความกังวลใจในเรื่องการยื่นภาษีอย่างแน่นอน
เข้าใจก่อนยื่นภาษี
เงินได้ของเราคือ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 !
- ภ.ง.ด. 90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล และรายได้อื่นๆ
- ภ.ง.ด. 91 คือคนที่มีเงินเดือน โบนัส และค่าครองชีพ โดยไม่มีรายได้จากทางอื่น
คนทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นแบบเสียภาษี ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใดก็ตาม โดยหากเป็นเด็กเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้นำไปยื่นร่วมกับพ่อและแม่ แต่หากอายุเกิน 18 ปี บรรลุนิติภาวะและมีรายได้แล้วก็ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ส่วนจะอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นหรือต้องเสียภาษีเพิ่มเติมก็แยกตามแต่ละบุคคล
รู้ก่อนยื่นภาษี เงินเดือนอย่างเรานี่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่นะ?
ในการคำนวณการยื่นภาษีนั้น เราจะใช้การคำนวณเงินได้ออกมาแบบรายปี คือการนำเงินได้ตลอด 12 เดือนมารวมกันได้เป็น ‘เงินได้สุทธิ’ ที่สามารถนำมาใช้เทียบกับอัตราภาษีที่ต้องเสียได้ดังนี้
คำนวณภาษีเงินได้ ทำอย่างไร? คิดรายได้อะไร ลดหย่อนอะไรบ้าง
จากเดิมการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเคยคำนวณหักค่าใช้จ่ายรวม 40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท แต่ในปีภาษี 2563 ที่จะต้องยื่นภาษี 2564 นี้ได้เปลี่ยนเป็นการคำนวณโดยหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักลบออกมาเป็นรายได้สุทธิซึ่งจะเป็นตัวชี้ว่าเราอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นหรือต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่
หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี
- หนังสือรับรองเงินได้ (50 ทวิ) หรือใบรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทผู้ว่าจ้างมอบให้เมื่อได้รับเงินซึ่งหากเป็นเงินเดือนจะได้รับภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีภาษีถัดไป แต่หากเป็นเงินได้แบบไม่ประจำ เช่น ค่าจ้าง จะได้ ณ วันที่รับเงิน โดยสามารถนำตัวเลขที่ระบุในเอกสารมาใช้ในการคำนวณภาษีและกรอกยื่นแบบได้เลยทันที
- เอกสารหลักฐานรายการลดหย่อนส่วนบุคคล เช่น ทะเบียนสมรส, เอกสารรับรองบุตร, หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา เอกสารค่าเบี้ยประกันสุขภาพ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐาน กรณีเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
- เอกสารในการลดหย่อนอื่นๆ เช่น ซื้อประกันชีวิต, ซื้อกองทุน LTF/RMF เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาคำนวณเงินได้เพื่อลดหย่อนภาษี
- กลุ่มหักค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่ ค่าลดหย่อนส่วนบุคคลของรายได้ คู่สมรส และบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
- กลุ่มค่าลดหย่อนหักจากเงินประกัน เงินออม และการลงทุน ได้แก่ ค่าประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ
- กลุ่มค่าลดหย่อนหักจากอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย และโครงการบ้านหลังแรก
- กลุ่มหักค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค เพื่อสนับสนุนการศึกษา เพื่อบริจาคแก่สถานพยาบาลของรัฐ เพื่อบริจาคเข้ากองทุนวิจัยและนวัตกรรม 4 กองทุน บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ บริจาคเพื่อช่วยเหลือเหตุอุทกภัย เงินบริจาคทั่วไป และเงินบริจาคให้พรรคการเมือง
- กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่าง มาตรการท่องเที่ยวเมืองรอง และชอปช่วยชาติ
รู้อย่างนี้แล้วก็อย่ารอช้าที่จะยื่นภาษี 2562 เพราะยิ่งมีค่าลดหย่อนมากเท่าไหร่ยิ่งต้องเตรียมหลักฐานใบกำกับต่าง ๆ ให้พร้อมมากเท่านั้น เพื่อที่จะได้ไม่ตกหล่น และการเสียภาษีนอกจากจะเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีทุกคนแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บอกสถานะยืนยันรายได้ที่ชัดเจน สำหรับการทำธุรกรรม และจะดีมากๆ ถ้าหากว่าบริษัทของคุณมี ระบบ Payroll ที่ช่วยคำนวณภาษีเงินได้ในทุกๆ เดือนให้คุณ ทำให้ไม่ต้องมานั่งคิดภาษีที่มีรายละเอียดตัวเลขมากมายกันให้ปวดหัว
Jobcan Payroll ระบบคำนวณภาษี คิดเงินเดือนพนักงานออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3v9Of03
Recent Comments