เจาะลึกความสำเร็จของคนทำงานแต่ละคน ก็ตั้งเป้าหมายกันไว้คนละอย่าง บางคนหากพูดถึงความสำเร็จในเรื่องงานอาจนึกไปถึงเรื่องของการมีหน้าที่การงาน ตำแหน่งสูงๆ ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารในบริษัท  ส่วนความสำเร็จเรื่องงานของบางคนอาจเป็นการได้ทำงานในบริษัทที่มีสภาพแวดล้อมแบบที่ตัวเองต้องการ หรือว่าอาจจะเป็นการทำงานในแผนกหรือตำแหน่งที่ได้รับงานทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เช่น คนที่ชอบทำงานออกแบบหรือดีไซน์ แต่อาจจะทำงานอยู่ในบริษัทที่ขายโปรดักส์อะไรก็ได้ แต่ถ้าคนทำกราฟฟิกมีความสุขและแพชชันกับงานที่ทำ

ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์หรืองานกราฟฟิกอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับงาน และยังมีความก้าวหน้าใน career path ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง หรือหากพูดถึงเรื่องของความสำเร็จ บางคนอาจให้ความสนใจไปที่เรื่องอื่นมากกว่าเรื่องงาน ก็เป็นไปได้เหมือนกัน ซึ่งเรื่องของความสำเร็จหรือสไตล์การทำงานนี้ระหว่างคนทำงานเมื่อก่อนกับคนรุ่นใหม่ย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนและเมื่อคนทำงานแต่ละคนมีมุมมองต่องาน ต่อความสำเร็จแตกต่างกัน ก็เป็นภาระของคนที่มีหน้าที่ดูแลงานบริหารบุคคล ที่จะต้องทำให้พนักงานหรือคนทำงานทุกคนมองเห็นภาพความสำเร็จ เป้าหมายในการทำงาน ทั้งเรื่องของเนื้องานและเรื่องความก้าวหน้าในค่าตอบแทนอย่างเงินเดือนด้วยเช่นกัน และที่เป็นสิ่งที่ HR ยุคใหม่ ต้องเตรียมรับมือ

สำหรับในบทความนี้ Jobcan อยากจะมาพูดถึงสไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ต่อเนื่องจากเรื่องของนิยามความสำเร็จของแต่ละ Generation โดยเฉพาะกับคน Gen Y มาดูกันว่าคนทำงานที่เข้าสู่ตลาดงานทั้งที่มีอายุงานตั้งแต่ 3 ถึง 10 ปี ตั้งแต่ระดับพนักงานไปจนถึงหัวหน้างาน ว่าคนใน Gen เดียวกันแต่ต่างช่วงวัยของอายุ ซึ่งในบางครั้งคนเจนเดียวกันนี่แหละที่ทำงานอยู่ในองค์กรเดียวกัน แต่คนละตำแหน่ง คนละแผนก ก็เกิดความไม่เข้าใจในความคิดหรือทัศนคติกันเอง ซึ่งการทำให้สมาชิกในองค์กรมีความเข้าใจในสไตล์การทำงาน มุมมองต่องาน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายพร้อมกันได้ทั้งทีม ย่อมเป็นเรื่องสำคัญของงานบริหารบุคคลที่ไม่ว่าจะองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ก็ควรให้ความสนใจ

อยากทำงานบริหารบุคคลง่าย

แค่เข้าใจเป้าหมายการทำงานของคนรุ่นใหม่ เข้าใจคน Gen Y

กลุ่มคนที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ในตลาดงานแทบทุกอุตสาหกรรมในขณะนี้ และเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะคนเจนนี้กำลังอยู่ในวัยทำงานและสร้างเนื้อสร้างตัว เรียกว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะกลายเป็นคนรุ่น Senior ในองค์กร เงินเดือนของคนกลุ่มนี้ก็อยู่ในช่วงที่กำลังก้าวหน้า บางคนที่เป็น late Gen-Y เริ่มทำงานใหม่ๆ ก็กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาตนเอง เรียนรู้งานหรือกำลังค้นหาเส้นทางการทำงานที่ใช่ Gen-Y รุ่นกลางๆ ก็กำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ skills ที่จำเป็นในการแข่งขันในตลาดงานและพัฒนาความสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่เริ่มมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น จริงจังกับชีวิตมากขึ้น ตามอัตราเงินเดือนและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มมาตามกันไป

ส่วนคน Gen Y รุ่นแรกๆ ว่ากันง่ายๆ ก็คือระดับหัวหน้า Senior ผู้จัดการ หรือผู้บริหารในองค์กรต่างๆ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนเจนนี้จะรักความก้าวหน้าและชอบที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา ทำให้รูปแบบการทำงานในช่วงอายุเดียวกันของคนเจนนี้กับเจนก่อนๆ รุ่นพ่อแม่โดยรวมค่อนข้างมีความแตกต่างและงานบริหารบุคคลที่อยู่ในช่วงวัยนี้ก็ต้องต่างจากกลุ่มอื่นเช่นกัน

เพราะคำว่าความสำเร็จ ไม่ได้วัดกันที่ “เงินเดือน” เท่านั้น

ความก้าวหน้าในเส้นทางการทำงาน และความสุขที่ได้

จากการบรรลุเป้าหมายต่างหากที่สำคัญ

อย่างที่บอกไปในต้นบทความว่าเป้าหมายในการทำงานของคนรุ่นใหม่ไม่ได้โฟกัสแค่เรื่องของเงินเดือนเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขากำลังมองหาลู่ทางในการสร้างความมั่นคงให้ชีวิต และการพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายของชีวิต ซึ่งแม้ว่าคนในวัยนี้จะกำลังเป็นช่วงของการใช้ชีวิตให้เต็มที่ ออกเดินทาง เที่ยว หรือแม้แต่การเปลี่ยนงานย้ายงานไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้แปลว่าคนรุ่นใหม่จะต้องการเปลี่ยนงานเพื่อเพิ่มเงินเดือนเสมอไป

คนพวกนี้มองหาสิ่งที่จะทำให้ตนเองสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ แน่นอนว่าเงินเดือนอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น แต่เรื่องของคุณภาพงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน รวมไปถึงความสุขในการทำงานก็เป็นสิ่งที่คนรุ่นนี้อยากได้ ดังนั้นงานบริหารบุคคลในปัจจุบันจึงต้องคิดถึงความต้องการของคนทำงานอย่างรอบด้าน และดูแลให้คนทำงานโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่จะเป็นกำลังสำคัญให้กับธุรกิจยังมีความต้องการที่จะทำงานและพัฒนาตนเองให้ควบคู่ไปกับการบรรลุเป้าหมายของบริษัทไปพร้อมๆ กัน

เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่เรื่อง “เงินเดือน”

งานบริหารบุคคลยุคใหม่จึงต้องเพิ่มความใส่ใจเรื่องการอัพสกิล

แล้วถ้าแรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนในการทำงานยังไม่พอที่จะดึงเอาคนรุ่นใหม่เก่งๆ หรือทำให้คนทำงานดีๆ มีความสนใจที่จะมาร่วมงานกับเรา เพราะถ้าเป็นงานบริหารบุคคลที่มีแนวคิดแบบเดิมๆ เมื่อเจอคนเก่ง ทำงานได้ ก็อาจดึงตัวกันด้วยการอัพฐานเงินเดือนให้ หรือใช่เรื่องเงินเดือนมาดึงตัวคนเพื่อไปทำงานอาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไป เพราะคนทำงานดีสมัยนี้บางคนเขาไม่ได้มองแค่เรื่องเงินเดือนเป็นปัจจัยหลัก หากงานที่เขาทำอยู่มันยัง fit in กับ passion ที่เขามีต่องานจนรู้สึกว่าอยากจะร่วมหัวจมท้ายไปกับทีมกับบริษัทที่เขาทำอยู่ สภาพแวดล้อมในการทำงานดีและได้เงินเดือนในเรทที่น่าพึงพอใจ ต่อให้มีบริษัทใหม่มาเสนอข้อเสนอใหม่ให้ก็คงจะไม่ได้ผล ถึงแม้ว่าภาพของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนงานบ่อยจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลบสำหรับคนที่ทำงานมานาน จงรักภักดีกับองค์กร ทำงานที่หนึ่งนานๆ หลายปี

แต่ความจริงแล้วหนึ่งในสาเหตุที่คนรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อย โดยเฉพาะในช่วงของการทดลองงาน ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่เอาไหน แต่เพราะการทดลองทำงานนี่แหละที่ทำให้พวกเขารู้ได้ว่างานที่สมัครเข้ามาหรือคาดหวังว่าจะเป็นงานที่ใช่ มันตรงกับความต้องการหรือเป้าหมายความสำเร็จของเขาหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วกลับต้องมองว่าเป็นเรื่องดีเสียอีกหากในบริษัทของคุณมีพนักงานคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทดลองงานแล้วรีบร้อนออกไปเพราะไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งกับงานที่ทำ เพราะมันทำให้ทั้งบริษัทและตัวพนักงานเองไม่เสียเวลาและพลังงานไปกับการทำในสิ่งที่ไม่ใช่ ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานบริหารบุคคลที่ไม่ใช่เนื้อคู่ของเรา รีบเอาเวลาไปมองหาทั้งพนักงานและที่ทำงานที่ตรงกับความต้องการหรือเป็นตัวเราให้เจอให้เร็วที่สุดดีกว่า

เมื่อเงินเดือนไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย

การเจองานที่ใช่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

อย่างที่หลายคนเคยพบเห็นว่าคนรุ่นใหม่มีความต้องการที่จะเป็นเจ้าของกิจการ อยากมีบริษัทเป็นของตนเองหรือมีธุรกิจเล็กๆ ที่สามารถบริหารจัดการรูปแบบการทำงานเองได้ ส่วนหนึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าคนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อการทำงานที่แตกต่างไปจากคนทำงานรุ่นก่อนๆ ไม่ได้ต้องการจะทำงานเป็นลูกจ้างไปจนเกษียณอายุงาน หรือหากจะเจอที่ทำงานที่ถูกใจถูกกับสไตล์การทำงานของตนเองเรื่องดังกล่าวก็อาจเกิดขึ้นได้

งานบริหารบุคคลในปัจจุบันจึงไม่เพียงแต่ดูแลให้พนักงานอยู่กับองค์กรให้ได้นานเท่านั้น แต่เรื่องของการพัฒนาทักษาะการทำงาน และความสุขในการทำงานก็เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพนักงานคนรุ่นใหม่ที่โหยหาความตื่นเต้นท้าทายและพร้อมจะเจอกับงานรูปแบบใหม่ๆ หรือบางคนที่เป็น fighter สุดๆ ก็ชอบทำงานภายใต้ความกดดันและชอบที่จะแก้ปัญหาเสียด้วยซ้ำ

แม้ไม่ได้มีเงินเดือนที่ได้รับมากมาย แต่คนเหล่านี้หากได้รับการใส่ใจและพัฒนาความสามารถให้ยังรู้สึกว่าตนเองยังพัฒนาได้อีก ยังเป็นบุคคลที่มีคุณค่ากับองค์กร มีการฝึกอบรม ส่งไปสัมนา หรือมีคอนเนคชั่นใหม่ๆ เข้ามาที่จะช่วยให้การทำงานของพวกเขาบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น งานบริหารบุคคลของบริษัททำให้พนักงานที่ทำงานอยู่มองเห็นความก้าวหน้าในสายงานหรือ career path ของตนเอง เห็นความเป็นไปได้ที่เขาจะเติบโตในสายงานหรือมีความท้าทายอะไรรอเขาอยู่พร้อมกับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลก็จะยิ่งทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่าอยากจะทำงานนี้ไปได้เรื่อยๆ

และถ้า HR ยังสามารถเนรมิตสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีคุณภาพ มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับพวกเขาอีก แค่นี้ก็ไม่ทำให้พนักงานไฟแรง performanceดีจากบริษัทไปไหน จนกว่าพวกเขาจะหมดไฟกับงานที่ทำอยู่จริงๆ นั่นแหละ ถึงจะเป็นเวลาที่ต้องบอกลากัน

Jobcan Attendance ระบบตอกบัตรออนไลน์พนักงาน
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3pamnFe