ในสังคมที่เร่งรีบเช่นนี้ทำให้หลายคนต้องคอยรับผิดชอบหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อมกันจนทำให้เกิดความร้อนรนโดยไม่รู้ตัวพฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลร้ายให้กับตัวเองได้ในภายหลังอย่างการเป็นโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT นั่นเอง วันนี้ JOBCAN จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT (Attention Deficit Trait) ว่าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร และควรจะรับมืออย่างไรบ้าง ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT โรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT (Attention Deficit Trait) เป็นโรคที่คล้ายกับการเป็นโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD (Attention-deficit hyperactivity disorder) แต่ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยที่โรคสมาธิสั้น ADT นี้สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ อาการของโรคสมาธิสั้น อาการของโรคสมาธิสั้นคือ การที่ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ สมาธิจะวอกแวกได้ง่าย เมื่อมีสิ่งเร้าเกิดขึ้นก็พร้อมจะหันไปสนใจทันที โดยส่วนมากจะเป็นในคนที่ทำงานลักษณะ Multitasking หรือทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน ซึ่งอาการสมาธิสั้นนี้ยังส่งผลให้มีความอดทนต่ำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หรือคิดสร้างสรรค์ลดลง ประสิทธิภาพในการจัดลำดับความสำคัญของงานหรือแบ่งเวลาก็ลดลงตามไปด้วย และยังมีอาการเครียด กังวลหรือคิดถึงปัญหาอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นหรือ ADT นี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อมซึ่งโดยส่วนมากมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมไม่ดีที่ต้องทำงานอย่างรีบเร่งอยู่เสมอ อาจเป็นเพราะมีความรับผิดชอบหลายอย่างอยู่ในมือแต่ไม่มีการจัดเวลาที่ดีมากพอ ทำให้ไม่สามารถโฟกัสหรือมีสมาธิกับงานใดงานหนึ่งได้เพียงงานเดียว เมื่อเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็จะทำให้กลายเป็นโรคได้นั่นเอง วิธีการแก้ไขโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นอย่าง ADT นั้นสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ หรือจะทำเป็นกิจวัตรทุกวันก็ได้เช่นกัน […]
เมื่อเกิดโรคระบาดที่ทำให้การใกล้ชิดกันหรืออยู่ในพื้นที่หนาแน่นเป็นอันตรายได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเป็นการ Work from home เกิดขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปการระบาดของโรคร้ายอย่างโควิด ก็เริ่มมีการรับมือได้มากขึ้นและยังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานไปอีกขั้นหนึ่งด้วยเช่นกัน วันนี้ JOBCAN จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับรูปการทำงานใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากทีเดียว นั่นคือการ Workation จะเป็นการทำงานแบบใดและมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ไปดูกัน ทำความรู้จักกับ Workation Workation คือการผสมผสานคำว่า Work ที่แปลว่า ทำงาน เข้ากับคำว่า Vacation ที่แปลว่าพักร้อน เข้าด้วยกัน จึงกลายเป็นการทำงานในสถานที่ที่ต่างออกไปอย่างแหล่งท่องเที่ยว เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้ผ่อนคลายมากขึ้น โดยที่ไม่ลดความรับผิดชอบหรือเป้าหมายการทำงานลงแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างนั้นการทำ Workation นี้ก็ทำได้เพียงบางตำแหน่งหรือบางทีมเท่านั้น ต้องดูตามความเหมาะสม ความน่าสนใจของ Workation ความน่าสนใจของการ Workation นี้จะอยู่ที่การเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อยๆ นี้จะส่งผลอย่างไรต่อการทำงานได้บ้าง เราจึงจะมาดูกันว่าข้อดีหรือจุดที่น่าสนใจที่ทำให้หลายทีมพากัน Workation นี้คืออะไรกันแน่ มาดูกัน ลดความเครียดและเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำงาน บางทีบางครั้งการนั่งอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยมตลอดเวลาอาจกลายเป็นการสร้างแรงกดดันอันไร้รูปทำให้พนักงานไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานได้ ยิ่งกับคนที่ต้องการแรงบันดาลใจด้วยแล้ว ภาวะขาดแรงบันดาลใจนี้เรียกว่าลดความอยากในการทำงานได้มากทีเดียว ซึ่ง Workation สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอนเพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงย่อมทำให้สมองได้เปิดรับสิ่งใหม่อย่างไม่รู้ตัวเลย เปิดพื้นที่ให้คนบ้างานได้พักผ่อนบ้าง หลายคนที่รักการทำงานเป็นอย่างมากอาจมีความรู้สึกผิด เมื่อให้เวลาพักผ่อนกับตัวเองสักครั้งก็เป็นได้ แต่กับการ Workation นั้นจะต่างออกไปเพราะพนักงานสามารถแบ่งเวลาให้กับการทำงานที่เท่าเดิมคือ […]
หนึ่งในปัญหาปวดหัวของ HR เลยก็คือเรื่องที่พนักงานมาสาย เพราะตามกฎหมายแล้วแม้ว่าพนักงานจะมาสาย 5 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงก็ไม่สามารถหักเงินได้ ขณะเดียวกันจะบังคับให้ใช้วันมาสายเป็นวันลาพักร้อนไป ก็ไม่ได้เช่นกันเพราะตามข้อกฎหมายกวล่าวว่าพนักงานจะต้องได้ใช้วันลาตามความสมัครใจเท่านั้น แล้วแบบนี้ HR จะสามารถทำอย่างไรได้บ้างถึงจะรับมือและแก้ปัญหากับพนักงานที่มาสายได้ วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาเทคนิควิธีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาพนักงานมาสายได้ ทั้งยังสามารถรักษาผลประโยชน์ของทั้งฝ่ายพนักงานและองค์กรได้ด้วย โดยมีทั้งหมด 5 วิธีด้วยกัน ดังนี้ จูงใจพนักงานด้วยสวัสดิการพิเศษสำหรับคนเข้างานตรงเวลา คนทำดีย่อมต้องได้รับผลตอบแทนที่ดี เป็นหนึ่งในวิธีการที่สามารถนำมาใช้จูงใจให้เหล่าพนักงานอยากจะเข้างานตรงเวลาด้วยการเสนอสวัสดิการพิเศษสำหรับพนักงานที่มีบันทึกการเข้างานตรงเวลา โดยสามารถเสนอเป็นการมอบเบี้ยขยันสำหรับคนที่ไม่เคยมาสายและมีการลดเบี้ยขยันลงเมื่อมีการมาสายเกิดขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของการประเมินพนักงานดีเด่นซึ่งหากมีคุณสมบัติครบจะได้รับสวัสดิการพิเศษที่ควรค่าในการจูงใจ อย่างเช่น วันลาพักร้อนหรือการปรับขึ้นเงินเดือน เป็นต้น สิ่งสำคัญในการจูงใจพนักงานด้วยสวัสดิการพิเศษนี้คือ ตัวสวัสดิการพิเศษจะต้องมีความน่าสนใจมากพอที่จะสร้างแรงดึงดูดให้พนักงานมาสายเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกถูกจูงใจกับวิธีการนี้ ดังนั้นจึงอาจมีบางคนที่ใช้เทคนิคนี้ไม่ได้ผลอยู่บ้าง คิดเงินเดือนตามจำนวนเวลาที่เข้าทำงานจริง แม้ว่าองค์กรจะไม่สามารถหักเงินเดือนพนักงานมาสายได้ แต่สามารถสร้างข้อตกลงร่วมกันได้โดยหนึ่งในวิธีการที่น่าสนใจคือการนับระยะเวลาทำงานเพื่อคำนวณเงินเดือนอย่างตรงไปตรงมาหรือก็คือการคิดเงินเดือนโดยคำนวณเป็นหน่วยนาทีแทนจำนวนวัน ดังนั้น หากมีพนักงานมาสาย พนักงานคนนั้นจะต้องอยู่ทำงานต่อหลังเวลาเลิกงานเพื่อให้จำนวนระยะเวลาครบตามกำหนดและไม่ถูกหักเงินเดือนนั่นเอง วิธีการนี้มีหลักสำคัญอยู่ที่การตกลงร่วมกันระหว่างองค์กรและพนักงานและต้องมีระบบการบันทึกเวลาเข้างานที่คำนวณระยะเวลาการทำงานได้อย่างแม่นยำเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ โดยองค์กรสามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับการมอบเบี้ยขยันหรือสวัสดิการพิเศษก็จะช่วยสร้างแรงจูงใจได้มากขึ้น พูดคุยสอบถามถึงสาเหตุเพื่อแก้ปัญหา พนักงานมาสายอาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่กำลังบอกองค์กรว่าพวกเขามีปัญหา ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่ฝ่ายบุคคลหรือ HR ต้องเข้าไปสอดส่องสังเกตการณ์ เพราะหากพนักงานที่มาสายมาจากแผนกหรือทีมเดียวกันอยู่บ่อยครั้ง ก็ควรตรวจสอบดูปริมาณงานที่ในทีมได้รับผิดชอบหรือข้อร้องเรียนที่เคยได้รับจากทีมนั้นๆ เพื่อพูดคุยแก้ไขกันต่อไป หรือในบางครั้งพนักงานมาสายอาจเป็นปัญหาส่วนตัวที่องค์กรสามารถยอมรับได้ เช่น พนักงานเกิดอุบัติเหตุที่ขาทำให้เดินทางไม่สะดวกอยุ่บ้างส่งผลให้การเดินทางมาทำงานล่าช้า หรือในช่วงฤดูฝนเกิดภัยน้ำท่วมเป็นบางแห่งทำให้เดินทางลำบาก เป็นต้น เมื่อพูดคุยทำความเข้าใจแล้วองค์กรก็สามารถอนุโลมหรือคิดวิธีการเพื่อช่วยเหลือพนักงานต่อไปได้ […]
หนึ่งในความรับผิดชอบของ HR หรือฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลคือ การดึงรั้งให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานที่สุดตราบเท่าที่ความสามารถของพนักงานสามารถช่วยขับเคลื่อนบริษัทได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจมีความผิดพลาดบางอย่างที่ HR ไม่ทันได้สังเกตซึ่งส่งผลให้พนักงานลาออกบ่อยขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากการลาออกของพนักงานเพียงคนเดียวแล้วจากนั้นก็ทยอยมาแจ้งกันเรื่อย ปัญหานี้ทำให้ HR ปวดหัวมากทีเดียว วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาวิธีการรับมือเมื่อพนักงานลาออกบ่อยจนทะลุขีดจำกัดมาฝากกัน ว่าควรจะเร่งทำอะไรบ้างเพื่อหยุดยั้งการลาออกนี้ ไปดูกัน สำรวจความเครียดในการทำงาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานลาออกบ่อยหรือติดต่อตามกันไปได้มาก คืองานที่ได้รับมอบหมายมีความเครียดหรือความกดดันมากเกินรับไหว ยิ่งเมื่อหนึ่งคนในทีมลาออก แปลว่างานที่ต้องรับผิดชอบส่วนหนึ่งจะตกไปที่สมาชิกคนอื่นๆ ในทีมด้วยแล้ว ไม่น่าแปลกใจที่จะมีการลาออกติดต่อกันตามมาเรื่อยๆ จนบริษัทประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ ดังนั้น สิ่งแรกที่ HR ต้องทำคือการสำรวจดูว่าการมอบหมายงานภายในแผนกมีการจัดการที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ก็ควรพูดคุยปรึกษากับหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกเพื่อจัดการให้เหมาะสม แต่หากมีการจัดการที่เหมาะสมแล้วแต่เนื้องานมีความกดดันอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ ควรสร้างพื้นที่ผ่อนคลายที่เหมาะสมให้กับพนักงานทดแทน อย่างเช่น ห้องพักผ่อน สวัสดิการนวดผ่อนคลาย เป็นต้น ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจ ว่าจะอยู่ต่อหรือลาออกของพนักงานส่วนใหญ่เลยทีเดียว เพราะการมีเพื่อนร่วมทีมที่เข้ากันได้ดีสามารถทำให้พนักงานแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีความขัดแย้งภายในทีมเกิดขึ้นก็อาจส่งผลให้มีพนักงานลาออกบ่อยมากขึ้น ยิ่งหากไม่รีบแก้ไขด้วยแล้วก็อาจทำให้องค์กรต้องสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถไปได้ หากมีการลาออกของพนักงานในทีมเดียวกันติดต่อกันแล้ว อย่างแรกที่ HR ควรสังเกตคือเรื่องของความสัมพันธ์ภายในทีมว่าสามารถเข้ากันได้ดีหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้องเป็นอย่างไร เพราะหากไม่สามารถควบคุมได้อาจเกิดการลาออกติดกันเป็นลูกโซ่ได้ สำรวจค่าตอบแทนต่อหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ทุกคน รวมถึง HR เองต่างก็ทำงานเพื่อค่าตอบแทนกันทั้งสิ้น ดังนั้นการที่พนักงานลาออกบ่อยในบางครั้ง อาจมีปัญหามาจากการให้ค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับเนื้องานที่ได้รับมอบหมายก็เป็นได้ […]