การรับเด็กฝึกงานเข้ามาทำงานในบริษัทเรียกได้ว่า หากมีข้อตกลงที่ดีย่อมทำให้วิน-วินกันได้ทั้สองฝ่าย แต่ด้วยสถานะพิเศษของการเป็นนักศึกษาหรือผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งนับว่ายังดูแลตัวเองไม่ได้ทำให้การทำข้อตกลงร่วมกันค่อนข้างลำบาก ที่สำคัญกฎหมายที่ออกมาในปัจจุบันไม่ได้คุ้มครองเด็กฝึกงานมากนัก แต่ก็ยังมีเรื่องที่นายจ้างควรทำความเข้าใจอยู่บ้าง

วันนี้ JOBCAN จึงเอาข้อกำหนดเกี่ยวกับเด็กฝึกงานหรือนักศึกษาฝึกงานมานำเสนอให้ทุกคนได้เก็บข้อมูลไปด้วยกัน มาดูกันเลย

ทำความรู้จักกับเด็กฝึกงาน

เด็กฝึกงานหรือนักศึกษาฝึกงานนั้น ตามกฎหมายกำหนดว่าเป็นผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้ามาทำงานกับบริษัทหรือองค์กรโดยมีทั้งแบบที่ทำข้อตกลงกันเป็นสัญญามีลายลักษณ์อักษรชัดเจน และแบบที่ไม่มีการทำสัญญาชัดเจน ต่างจากการทำงานพาร์ทไทม์ที่จะต้องมีการทำสัญญาว่าจ้างให้ชัดเจน นอกจากนี้ นักศึกษาฝึกงานหรือเด็กฝึกงานยังมีระยะเวลากำหนดอย่างชัดเจนว่าสามารถฝึกงานได้ไม่ต่ำกว่า 2 เดือน แต่ห้ามเกิน 1 ปีเท่านั้น และยังห้ามทำงานล่วงเวลาอีกด้วย

รูปแบบค่าตอบแทนของเด็กฝึกงาน

สำหรับค่าตอบแทนของเด็กฝึกงานนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  • ตกลงมอบค่าตอบแทนเป็นเงินค่าจ้าง รูปแบบนี้เด็กฝึกงานจะได้ทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน และได้รับค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่า “เบี้ยเลี้ยง” เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 50% ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามในแต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นการฝึกงานที่สถาบันศึกษาไม่ได้บังคับมา เด็กฝึกงานนี้จึงถูกเรียกว่า “ลูกจ้าง​” ตามกฎหมาย เพราะได้รับค่าตอบแทน
  • ตกลงมอบค่าตอบแทนเป็นสวัสดิการอื่นๆ หรือไม่มีอะไรให้เลย ในกรณีนี้มักเป็นนักศึกษาฝึกงาน หรือเด็กฝึกงานที่สถาบันศึกษาส่งมาขอฝึกงานด้วย ซึ่งทางบริษัทหรือองค์กรอาจมีการเลี้ยงข้างกลางวันหรือสวัสดิการพนักงานปกติมอบให้บ้าง หรือจะไม่มอบอะไรเลยก็ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังเมื่อบริษัทรับเด็กฝึกงานเข้าทำงาน

หลายองค์กรชื่นชอบการรับเด็กฝึกงานเข้าทำงาน เพราะนอกจากจะเป็นแรงงานที่จ่ายค่าตอบแทนไม่สูงมากนักแล้ว ยังได้ความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างออกไปเข้ามาด้วย รวมถึงประโยชน์อีกหลายๆ อย่างโดยเฉพาะเด็กที่กำลังเรียนใกล้จะจบหรือจบแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นการรับนักศึกษาฝึกงานหรือเด็กฝึกงาน ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิของเด็กด้วยเช่นกัน มีอะไรบ้างที่นายจ้างควรรู้ ไปดูกัน

การมอบค่าตอบแทน

ในกรณีที่นักศึกษาตัดสินใจเข้าสมัครเป็นเด็กฝึกงานด้วยตนเองนั้นบริษัทจะมีสถานะเป็น “นายจ้าง” ที่ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ “ลูกจ้าง” ตามข้อตกลงที่ให้ไว้ในสัญญาว่าจ้างซึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 50% ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดที่บริษัทหรือองค์กรตั้งอยู่

ข้อจำกัดในการทำงานของเด็กฝึกงาน

เด็กฝึกงานมีข้อจำกัดในการทำงานด้วยเช่นกัน เพื่อปกป้องเด็กฝึกงานโดยห้ามมีการใช้เด็กฝึกงานทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด และห้ามเด็กฝึกงานทำงานอันตรายตามกำหนดของ พรบ. คุ้มครองแรงงาน เช่น งานปั๊มโลหะ งานสารเคมีอันตราย งานในสถานที่เล่นการพนัน งานในสถานที่ให้บริการหรืองานดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อ เป็นต้น ซึ่งหากพบว่ามีการละเมิดข้อกำหนด บริษัทหรือองค์กรจะต้องถูกปรับ 400,000 – 2,000,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ระยะเวลาในการทำงานของเด็กฝึกงาน

ข้อกำหนดสุดท้ายที่องค์กรหรือบริษัทจะต้องให้ความสำคัญคือเรื่องของเวลาการฝึกงาน ซึ่งนักศึกษาฝึกงานหรือเด็กฝึกงานนั้นจะเข้าฝึกงานได้เพียง 2-12 เดือนเท่านั้น หากยาวนานกว่านั้น ควรเปลี่ยนสัญญาจ้างเป็นการทำงานแบบพาร์ทไทม์แทน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมาย

การว่าจ้างทุกรูปแบบย่อมมีข้อกำหนดกฎหมาย ที่ออกมาเพื่อคุ้มครองทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เช่นเดียวกับเด็กฝึกงานที่ต้องการการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานสำคัญในอนาคตต้องได้รับความไม่เป็นธรรมนั่นเอง

Jobcan Payroll

ออกสลิป คำนวณภาษี คิดเงินเดือนออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg