หลายครั้งที่หัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลต้องเผชิญกับสภาวะการทำงานที่ไม่มั่นคง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานตกต่ำลงเรื่อยๆ ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งที่เมื่อก่อนเคยทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม เรียกว่าทำให้หัวหน้าและฝ่ายบุคคลต้องปวดหัวกันเลยทีเดียว เพราะด้วยผลงานเก่าที่ยอดเยี่ยมนั้นทำให้เสียดาย หากจะลดตำแหน่งหรือให้ลาออก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดวิธีกระตุ้นและดึงศักยภาพของพนักงานให้กลับคืนมาอีกครั้ง หรือที่เรียกกันว่า PIP (Performance Improvement Plan)

PIP หรือ Performance Improvement Plan คืออะไร

PIP หรือ Performance Improvement Plan คือแผนการปรับปรุงผลการทำงานของพนักงานที่ตกต่ำให้กลับมาอยู่ในระดับที่บริษัทคาดหวัง โดยเป็นการสร้างแผนเพื่อกระตุ้นทั้งในเรื่องศักยภาพการทำงานหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะในที่ทำงาน สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องในการกอบกู้ให้พนักงานพัฒนาตนเองเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างผลงานที่บริษัทต้องการอีกครั้ง

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้ PIP

PIP ควรเข้ามามีบทบาทเมื่อหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลพบว่ามีพนักงานที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เช่นไม่ตรงต่อเวลา ทำงานไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือมีส่วนร่วมในการทำงานน้อยลง และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ผลงานที่สร้างขึ้นก็ตกต่ำตามไปด้วย ซึ่งเน้นเป็นการปรับพฤติกรรมหรือช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองเพื่อสร้างผลงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ทางองค์กรสามารถใช้ PIP ในการทดลองงานได้ด้วยเช่นกัน

ลักษณะที่ดีของ PIP

PIP เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถดึงศักยภาพของพนักงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัทสามารถใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้พนักงานได้รับการกระตุ้นและมีแรงจูงใจในการทำงานได้ง่ายโดยไม่มีต้นทุนที่ต้องจ่ายทั้งยังมีประสิทธิภาพอีกด้วย แต่ PIP ที่ดีนั้นยังมีลักษณะสำคัญที่จะขาดไม่ได้อยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่

หัวหน้าและฝ่ายบุคคลที่ต้องการทดสอบควรเข้าใจถึงโปรแกรม

การทำโปรแกรม PIP นั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรรับรู้และเข้าใจถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทดสอบอย่างแน่ชัดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่มีการขัดขวาง ทั้งยังสามารถร่วมสนับสนุนเพื่อผลักดันให้พนักงานสสามารถดึงศักยภาพออกมาได้ง่ายมากขึ้น

ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน

การให้ความชัดเจนต่อพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะการทำ PIP ย่อมมีความกดดันเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง หากพนักงานไม่ชัดเจนถึงเป้าหมายในสิ่งที่กระทำอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการกดดันให้ลาออก หรือเป็นการลงโทษแทน ซึ่งแบบนั้นอาจทำให้พนักงานลาออกทันที หรืออาจทำให้บริษัทมีปัญหาได้ในภายหลัง ที่สำคัญเพื่อนร่วมงานที่รับรู้เป้าหมายผิดๆ ไปอาจมีพฤติกรรมต่อต้านออกมาได้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานร่วมกันอย่างแน่นอน

มีการกำหนดตัววัดผลและระยะเวลาอย่างชัดเจน

การทำ PIP เป็นการทดสอบอย่างหนึ่งและในการทดสอบนั้นย่อมต้องมีการกำหนดเวลาอย่างชัดเจนว่าจะเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด เพื่อไม่ให้พนักงานต้องรู้สึกกดดันจนเกิดความสงสัยในเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กรว่าต้องการให้เขาทำอะไร และที่สำคัญยังต้องมีตัวชี้วัดให้พนักงานสามารถรู้ได้ว่า การทดสอบนี้จะผ่านเมื่อสามารถทำได้ถึงจุดใดกันแน่

การจัดทำ PIP นั้นจะประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กิจกรรมและตัววัดผลเป็นหลักสำคัญและการใช้ PIP เข้ามากระตุ้นพนักงานเป็นทางหนึ่งที่บริษัทจะสามารถตรวจสอบศักยภาพในการทำงานของพนักงานได้เป็นอย่างดี เพราะหากพนักงานยังสามารถดึงศักยภาพในตัวเองออกมาได้ก็นับว่าสามารถเดินทางร่วมกับบริษัทต่อไปได้ แต่หากไม่สามารถทำได้อาจต้องมีการคิดถึงวิธีการอื่นๆ เช่น การลดหรือย้ายตำแหน่งงาน การพักงานหรือการเลิกจ้าง เป็นต้น 

Jobcan Attendance

ระบบเข้าออกงานพนักงาน ตอกบัตรออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg