ลองเช็คดู.. คุณกำลังมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า? มาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานกัน (ADT)
ในสังคมที่เร่งรีบเช่นนี้ทำให้หลายคนต้องคอยรับผิดชอบหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อมกันจนทำให้เกิดความร้อนรนโดยไม่รู้ตัวพฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลร้ายให้กับตัวเองได้ในภายหลังอย่างการเป็นโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT นั่นเอง
วันนี้ JOBCAN จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT (Attention Deficit Trait) ว่าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร และควรจะรับมืออย่างไรบ้าง
ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT
โรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT (Attention Deficit Trait) เป็นโรคที่คล้ายกับการเป็นโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD (Attention-deficit hyperactivity disorder) แต่ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยที่โรคสมาธิสั้น ADT นี้สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้
อาการของโรคสมาธิสั้น
อาการของโรคสมาธิสั้นคือ การที่ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ สมาธิจะวอกแวกได้ง่าย เมื่อมีสิ่งเร้าเกิดขึ้นก็พร้อมจะหันไปสนใจทันที โดยส่วนมากจะเป็นในคนที่ทำงานลักษณะ Multitasking หรือทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน ซึ่งอาการสมาธิสั้นนี้ยังส่งผลให้มีความอดทนต่ำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หรือคิดสร้างสรรค์ลดลง ประสิทธิภาพในการจัดลำดับความสำคัญของงานหรือแบ่งเวลาก็ลดลงตามไปด้วย และยังมีอาการเครียด กังวลหรือคิดถึงปัญหาอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นหรือ ADT นี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อมซึ่งโดยส่วนมากมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมไม่ดีที่ต้องทำงานอย่างรีบเร่งอยู่เสมอ อาจเป็นเพราะมีความรับผิดชอบหลายอย่างอยู่ในมือแต่ไม่มีการจัดเวลาที่ดีมากพอ ทำให้ไม่สามารถโฟกัสหรือมีสมาธิกับงานใดงานหนึ่งได้เพียงงานเดียว เมื่อเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็จะทำให้กลายเป็นโรคได้นั่นเอง
วิธีการแก้ไขโรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นอย่าง ADT นั้นสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ หรือจะทำเป็นกิจวัตรทุกวันก็ได้เช่นกัน โดยมีวิธีการรักษาอยู่ 3 ข้อดัวยกัน ดังนี้
วางแผนบริหารเวลาอย่างสม่ำเสมอ
การวางแผนบริหารเวลาโดยเริ่มจากการจัดเรียงลำดับงานตามความเร่งด่วนออกมาเป็นลิสต์นั้น จะช่วยให้สามารถจดจ่อหรือโฟกัสกับงานที่ต้องทำเพียงงานเดียวในเวลานั้นได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังไม่ต้องคอยกังวลว่าจะหลงลืมงานอื่นๆ เพราะการวางแผนและจัดลำดับจะช่วยเตือนความจำให้ได้ด้วย จากนั้นเมื่อค่อยๆ ตั้งเป้าหมายและทำไปทีละอย่างสมองก็จะเริ่มชินกับการจดจ่อมากขึ้นได้นั่นเอง
ลดการใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตจะทำให้สมองทำงานหนักและเคยชินกับความเร่งด่วนรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถโฟกัสกับเรื่องใดได้นาน ส่งผลให้กลายเป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้นไปอีก ดังนั้น เมื่อมีเวลาพักผ่อนจึงควรพักโดยไม่หยิบเอาสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตขึ้นมาดูบ้าง จะช่วยให้สมองได้รับการพักผ่อนอย่างแท้จริงได้
ออกกำลังกายดูแลสุขภาพ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะเป็นการสร้างกิจวัตรให้ร่างกายได้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยทำให้สมองจดจ่อและมีสมาธิมากขึ้นด้วย ทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเครียดที่ได้รับมาในแต่ละวันทำให้สมองทำงานได้ดีมากขึ้น และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญแต่มักจะถูกละเลยอยู่เสมอคือการนอนให้มีคุณภาพและเป็นเวลา เพราะการนอนหลับที่ไม่ดีจะทำให้เกิดปัญหากับการตั้งสมาธิหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นหรือ ADT ได้ง่าย
แม้ว่าการทำงานจะเป็นเรี่องที่สำคัญอย่างมากแต่ก็ไม่เท่ากับร่างกายและสมอง ดังนั้นในกลุ่มคนที่ต้องทำงานหลากหลายอย่างหรือ Multitasking อยู่ตลอดเวลาควรระมัดระวังพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้กลายเป็นโรคสมาธิสั้นได้ พร้อมทั้งอย่าลืมใส่ใจสุขภาพ ไม่ให้กลายเป้นการทำงานหาเงินเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลไป
Jobcan Attendance
ระบบเข้าออกงานพนักงาน ตอกบัตรออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg
Recent Comments