Perfectionist: เมื่อความสมบูรณ์แบบส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
Perfectionist หรือมนุษย์ไม้บรรทัด คือบุคคลที่รักในความสมบูรณ์แบบ มีความละเอียดรอบคอบ และต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ คนประเภทนี้พยายามหลีกเลี่ยงความผิดพลาด เพราะต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาเพอร์เฟ็กต์ที่สุดดั่งการขีดเส้นตรงด้วยไม้บรรทัด ดังนั้น “มนุษย์ไม้บรรทัด” จึงเป็นคำในภาษาไทยที่สื่อความหมายถึงความเป๊ะของคนประเภท Perfectionist ได้เป็นอย่างดี
Edward C. Chang (2006) ระบุว่าภาวะ Perfectionism แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- Self-oriented perfectionism คือ Perfectionist ที่กำหนดมาตรฐานความสมบูรณ์แบบของตัวเองเอาไว้สูง และคิดว่าทุกผลงานของตัวเองต้องไร้ซึ่งความผิดพลาด และตรงตามมาตรฐานความสมบูรณ์แบบอยู่เสมอ
- Other-oriented perfectionism คือ Perfectionist ที่คาดหวังความสมบูรณ์แบบในการกระทำของผู้อื่น
- Socially prescribed perfectionism คือ Perfectionist ที่เชื่อว่าคนในสังคมหรือคนรอบข้างคาดหวังความสมบูรณ์แบบจากตัวเอง
อาการแบบไหนถึงเรียกว่า ‘Perfectionist’
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า อาการแบบนี้ใช่อาการของ Perfectionist หรือเปล่า วันนี้ JOBCAN ได้รวบรวมพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ไม้บรรทัดสุดเนี๊ยบมาไว้ที่นี่แล้ว คนเมืองทิพย์เขาเป๊ะกันอยู่แล้วนะน้องนะ!
1. Perfectionist มักรอเวลาที่พร้อมที่สุดถึงจะเริ่มทำงาน เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด
2. Perfectionist มักมองเห็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่คนอื่นมองข้าม
3. Perfectionist ใช้เวลากับงานนานมากแม้จะเป็นแค่งานชิ้นเล็ก ๆ
4. Perfectionist ไม่เคยหยุดนิ่ง ตั้งเป้าหมายใหม่ให้ตัวเองอยู่เสมอ
5. Perfectionist มักจะคิดมากและโทษตัวเองหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้น
6. Perfectionist มีมาตรฐานและความคาดหวังสูง รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอาจไม่ดีพอ
7. Perfectionist มักเก็บเอาทุกคำพูดหรือคำวิจารณ์ไปคิดมากและรู้สึกแย่กับตัวเอง
ข้อดีข้อเสียของการเป็น Perfectionist
ข้อดีของ Perfectionist ต่อการทำงาน แน่นอนว่าหัวหน้างานสามารถไว้วางใจในผลงานของลูกทีมที่มีภาวะ Perfectionism ได้เลยว่าจะต้องเป็นงานที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องมาอย่างละเอียดและรอบคอบที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้การเป็น Perfectionist หรือมนุษย์ผู้รักในความสมบูรณ์แบบ อาจฟังดูเป็นข้อดีและเป็นจุดแข็งต่อการทำงานในความคิดของใครหลาย ๆ คน ทว่าบางครั้งภาวะดังกล่าวก็สามารถส่งผลกระทบด้านลบต่อสภาพการทำงานและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้เช่นกัน
ภาวะ Perfectionism สามารถทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล โรคซึมเศร้า รวมไปถึงอาการหมดไฟในการทำงานอันเนื่องมาจากความคาดหวังต่อมาตรฐานความสมบูรณ์แบบที่สูง ซึ่งนอกจากภาวะเหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานได้ ดังนี้
เกิดปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ยิ่งคาดหวังให้ผลลัพธ์ออกมาสมบูรณ์แบบมากเท่าไร ก็ยิ่งกดดันตัวเองและคนรอบข้างมากเท่านั้น ความกดดันต่าง ๆ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะกับตัวเองแต่ยังแผ่รังสีไปสู่เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้น Perfectionist จึงมีข้อบกพร่องเรื่องการทำงานเป็นทีม เพราะยึดติดกับความเพอร์เฟ็กต์มากเกินไป จนทำให้คนรอบข้างพากันเครียดและกดดันตามไปด้วย
ใช้เวลาทำงานมากเกินความจำเป็น
เพราะความใส่ใจในทุก ๆ รายละเอียดของ Perfectionist บางครั้งจึงอาจทำให้เสียเวลาไปกับการทำงานมากเกินจำเป็น เช่น ใช้เวลาไปกับการตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้สำคัญมากนัก หรือแม้กระทั่งการรอจนกว่าตัวเองจะอยู่ในสถานะที่พร้อมที่สุดถึงจะเริ่มต้นทำงาน
แล้วจะรับมือกับการเป็น Perfectionist ได้อย่างไร?
ถ้าถามว่าเครียดไหม ฉันตอบเลยว่ามาก! หากพิจารณาเบื้องต้นแล้วพฤติกรรมของคุณหรือคนใกล้ตัวมีภาวะ Perfectionism และมีโอกาสเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งบรรยากาศการทำงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาในระยะยาวได้ JOBCAN ขอแนะนำวิธีรับมือกับภาวะคลั่งไคล้ความสมบูรณ์แบบ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิด 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. เชื่อมั่นในทุกผลงาน ว่างานของเราสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจและทำออกมาอย่างดีที่สุด
2. จัดการกับความผิดพลาด เก็บคำวิจารณ์มาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และเติบโต
3. เด็ดขาดในการลงมือ หยุดผัดวันประกันพรุ่ง มั่นใจในตัวเองและลงมือทำ
4. ท้ายสุดคือการเปิดใจ ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ ไม่มีอะไรที่เพอร์เฟ็กต์ไปทั้งหมด
A person who never made a mistake, never tried anything new. – Albert Einstein
เป็นที่ทราบกันดีว่า การเป็นคนที่รักในความสมบูรณ์แบบ ละเอียดรอบคอบ และใส่ใจต่อการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าบริษัทไหนก็ย่อมต้องการบุคลากรที่มีมาตรฐานในการทำงาน แต่หากคาดหวังให้ทุกอย่างเพอร์เฟ็กต์มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการทำงาน และเกิดปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแล้วละก็ คุณควรเรียนรู้วิธีการรับมือและปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เกิดความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป รู้จักใช้ประโยชน์ของการเป็น Perfectionist ให้ส่งผลดีกับการทำงาน โดยไม่ทำให้คนรอบข้างต้องรู้สึกกดดันหรือลำบากใจ เพียงแค่นี้ชีวิตการทำงานของคุณอาจดีขึ้นอย่างคาดไม่ถึง No one is flawless เพราะความผิดพลาดถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตที่สอนให้เราเรียนรู้และเติบโต
Jobcan Attendance
ระบบเข้าออกงานพนักงาน ตอกบัตรออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg
Recent Comments