เงินชดเชยเลิกจ้าง

คนทำงานต้องรู้! กรณี “ถูกเลิกจ้าง” ต้องได้รับเงินชดเชยเท่าไร

ในสถานการณ์ที่ไม่อาจทราบได้ว่าการระบาดของเชื้อไวรัสจะส่งผลอย่างไรต่อไป การวางแผนอนาคตถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจและมนุษย์เงินเดือนทุกคน จะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนที่เชื้อไวรัสระบาดขั้นรุนแรงจนส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศถดถอย หลายบริษัทไม่สามารถรับมือกับสภาวะขาดทุนได้ บวกกับการไม่มีเงินทุนสำรองเพียงพอ ส่งผลให้บริษัทเหล่านั้นต่างพากันทยอยปิดกิจการและทำให้ลูกจ้างถูกลอยแพจากการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ในวันนี้ Jobcan จึงอยากชวนผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ รวมไปถึงกลุ่มลูกจ้างมนุษย์เงินเดือนมาเรียนรู้กฎหมายที่กำหนดไว้เกี่ยวกับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง เพื่อเป็นเกร็ดความรู้สำหรับผู้ประกอบการว่าหากธุรกิจไปต่อไม่ไหวต้องแจ้งลูกจ้างอย่างไร ในส่วนของลูกจ้างก็จะสามารถรับมือได้อย่างถูกต้องหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นในอนาคต เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างคืออะไร เงินชดเชยเลิกจ้าง คือ เงินที่ลูกจ้างจะต้องได้รับจากนายจ้าง หากเกิดการเลิกจ้างกะทันหันโดยลูกจ้างไม่สมัครใจ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดสิทธิของลูกจ้างต่อกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยมีเงื่อนไขว่า นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้าง ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลอันไม่สมควร หากเกิดการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมขึ้นโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้าและนายจ้างไม่สามารถรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด เงื่อนไขที่ลูกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินค่าชดเชยจากนายจ้างเมื่อต้องออกจากงานโดยไม่สมัครใจ โดยมีเงื่อนไขคือลูกจ้างต้องมีอายุงานครบ 120 วันขึ้นไป และต้องไม่กระทำผิดหรือถูกเลิกจ้างจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ลูกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจ ลูกจ้างมีเจตนาทุจริตต่อนายจ้าง ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ลูกจ้างประมาทเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ลูกจ้างขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันควร ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา เลิกจ้างตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างต้องได้รับเท่าไร ตามกฎหมายแล้ว เงินชดเชยเลิกจ้างที่ลูกจ้างจะได้รับนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง และค่าชดเชยพิเศษ ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง หากมีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างแบบกะทันหัน ลูกจ้างสามารถเรียกร้องเงินชดเชยกับนายจ้างได้ โดยจำนวนเงินชดเชยจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ตามอายุงานของลูกจ้าง ดังนี้ 1. […]