Withholding tax คืออะไร? คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานได้ง่ายๆ คลิกเลย!
หลายคนคงสงสัยกันว่า Withholding Tax คืออะไร? แล้วควรนำมาคำนวณร่วมกับเงินเดือนอย่างไรเมื่อต้องจ่ายให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้จ่ายเงินจะต้องคำนวณและหักไว้เอง โดยปัญหาตรงนี้นั้นหลายคนเลือกใช้ระบบคำนวณเงินเดือนเข้ามาช่วยเหลืออย่างเช่น JOBCAN Payroll ซึ่งจะมีการคำนวณภาษีให้อย่างเสร็จสรรพ เรียกว่าช่วยลดความยุ่งยากไปได้มากทีเดียว แต่ถึงอย่างเรื่องการคำนวณภาษีนี้ ผู้รับผิดชอบการคำนวณเงินควรจะรู้วิธีการคำนวณเอาไว้บ้าง
วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาวิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ Withholding Tax คืออะไร ต้องคำนวณอย่างไรบ้าง มาฝากให้อย่างละเอียดกันเลย
Withholding Tax คือ ?
Withholding Tax คือ ภาษีที่กฎหมายกำหนดให้มีการหักไว้ก่อนจ่ายเงินเดือน โดยมีผู้จ่ายเงินเป็นผู้หักออก โดยส่วนใหญ่ผู้จ่ายเงินจะส่งมอบหลักฐานเป็น “หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” ให้แก่ผู้รับเงินด้วย แม้ว่าผู้จ่ายเงินจะเป็นเป็นผู้หักออกไปตั้งแต่ต้น แต่ในการหักภาษีครั้งนี้จะนับเป็นเครดิตภาษีของได้รับเงินแทน และการหักภาษี ณ ที่จ่ายของพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือนนั้น จะมีการหักตามอัตราภาษีดังนี้
วิธีการคำนวณ Withholding Tax ของพนักงาน
ในการคำนวณ Withholding Tax นั้นจะไม่คำนวณตามตัวเท่ากันทุกเดือนและยังมีความแตกต่างกันเมื่อจำนวนของเงินได้ต่อเดือนไม่เท่ากัน เช่น มีการรับโบนัสหรือเงินพิเศษอย่างค่าล่วงเวลา ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น โดยในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ Withholding Tax นั้นจะใช้ฐานเงินเดือนที่คำนวณรวมทั้งปีพร้อมกับหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนมาร่วมคำนวณกัน ดังนั้น เมื่อจำนวนรายรับที่ได้เปลี่ยนไป ผลลัพธ์ที่ได้จึงต่างกัน และยังมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกด้วย มาดูความแตกต่างในการคำนวณของแต่ละกรณีกันเลย
วิธีการคำนวณ Withholding Tax ของพนักงานในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน
การคิดภาษีของประเทศไทยเราจะคิดเริ่มต้นจากเดือนมกราคมไปสิ้นสุดที่เดือนธันวาคม ดังนั้น เมื่อการคำนวณคิดภาษีเป็นการคำนวณจากรายรับทั้งปี ทั้งที่เงินได้รับเป็นรายเดือนทำให้ตัวเลขที่ได้อาจไม่ลงตัวเท่าใดนักยิ่งเมื่อมีการคำนวณภาษี ณ ที่จ่ายออกมาเป็นรายเดือนด้วยแล้วการคิดคำนวณจึงแตกต่างออกไป
ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนจะคำนวณเหมือนกัน นั่นคือ
รายรับหรือเงินเดือนรวมกันตลอดทั้งปี – ค่าใช้จ่ายตามกำหนด – ค่าลดหย่อนต่างๆ ที่สามารถใช้ได้ = เงินได้สุทธิ
จากนั้นเทียบตารางอัตราการเสียภาษีด้านบน สมมติว่ามีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 300,000 บาท จะเท่ากับเสียภาษีที่อัตรา 5% แต่ก่อนจะนำไปคำนวณหาตัวเลขของ Withholding Tax นั้นจะต้องนำฐานภาษีมาหักออกก่อน ซึ่งหากมีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 300,000 บาทจะต้องมีการหักฐานภาษีอยู่ 150,000 บาทเสียก่อนจากนั้นก็คำนวณว่า 5% ของ 150,000 บาท ซึ่งจะได้เป็นค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 7,500 บาทนั่นเอง
หากต้องการคำนวณหาภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ Withholding Tax ต่อเดือนก็นำเอา 12 ไปหาร ได้ออกมาเป็น 625 บาทต่อเดือน แต่นี่จะเป็นการคำนวณของเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนเท่านั้น
วิธีการคำนวณ Withholding Tax ของพนักงานในเดือนธันวาคม
เมื่อมาถึงเดือนสุดท้ายของการคำนวณภาษีประจำปีแล้ว การคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ Withholding Tax จะต่างออกไป เพราะในการคำนวณใช้รายได้ ค่าลดหย่อนและค่าใช่จ้ายตามกฎหมายกำหนดตลอดปีมาคิด เมื่อถึงเดือนสุดท้ายจึงเป็นการคำนวณภาษีส่วนต่างที่ยังไม่ได้จ่ายจากทั้ง 11 เดือนออกมาคิดเป็นค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือน 12 แทน
ตัวอย่างเช่น คำนวณเงินได้สุทธิออกมาแล้วอยู่ที่ 287,000 บาท หักฐานภาษี 150,000 บาทตามอัตราภาษีที่ 5% จะเท่ากับค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 6,850 บาทต่อปี
เท่ากับว่า ในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ Withholding Tax อยู่ที่ 570.83 บาท ไม่มีการปัดเศษขึ้น จึงเท่ากับว่า 11 เดือนที่ผ่านมามีการหักภาษีทั้งหมดที่ 6,279.16 บาท
แต่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อปีเท่ากับ 6,850 บาท ดังนั้นในเดือนธันวาคมจะต้องนำเอา 6,850 – 6,279.16 เพื่อหาส่วนต่างที่เหลืออยู่ ได้เท่ากับ 570.84 บาทนั่นเอง
วิธีการคำนวณ Withholding Tax เมื่อมีเงินพิเศษเพิ่มเติม
กรณีที่มีรายได้อื่นๆ พิเศษเพิ่มเติม เช่นค่าล่วงเวลาหรือทำโอที เงินโบนัส ค่าคอมมิชชั่นหรือเงินพิเศษอื่นๆ ซึ่งถือเป็นรายรับต้องคำนวณเช่นกัน แต่ด้วยจำนวนเงินที่ไม่เท่ากันในแต่ละเดือนทำให้การใช้อัตราการเสียภาษีตามตารางด้านบนต้องเปลี่ยนไปตามจำนวนเงินได้สุทธิ โดยจะมีการคำนวณดังนี้
(เงินเดือนตลอดทั้งปี + เงินพิเศษในเดือนนั้นๆ) – ค่าใช้จ่ายตลอดปีตามกฎหมายกำหนด – ค่าลดหย่อนที่มีสิทธิ์ = เงินได้สุทธิ
เมื่อได้เงินได้สุทธิแล้วก็นำไปเทียบกับอัตราภาษีด้านบนเพื่อนำเลขฐานภาษีมาหักออก แล้วคำนวณตามอัตราภาษีจะได้เป็นจำนวนค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ Withholding Tax
ตัวอย่าง เงินเดือน 40,000 บาท ได้เงินพิเศษในเดือนสิงหาคมที่ 3,000 บาท
จึงเท่ากับ (40,000×12) + 3,000 = 483,000 บาท
นำมาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนและค่าประกันสังคม ทั้งหมด 169,000 บาท เท่าเงินได้สุทธิ 314,000 บาท ต้องเสียอัตราภาษีอยู่ที่ 10%
การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะต้องนำเอาเลขฐานภาษีมาหักออกก่อน โดยอัตราภาษี 10% จะมีฐานภาษีอยู่ที่ 200,000 บาท ดังนั้นจะเท่ากับ (314,000 – 200,000) x 10% = 11,400 บาท
ดังนั้นเดือนสิงหาคมจึงต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 11,400 บาท จากปกติไม่มีเงินพิเศษจะจ่ายอยู่ที่ 11,100 บาท
การจ่ายภาษีเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความแม่นยำและความละเอียดรอบคอบค่อนข้างสูง แม้ว่าในปัจจุบันการทำเงินเดือนจะมีระบบคิดเงินเดือนเข้ามารองรับ ทำให้ช่วยลดความผิดพลาดและความยุ่งยากไปได้อย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นเหล่า HR หรือเจ้าของกิจการก็ควรทำความเข้าใจกับการคำนวณเอาไว้เพื่อจะได้วางแผนจัดการภาษีหรือเช็คตรวจสอบความถูกต้องได้ นับเป็นการป้องกันปัญหาในอนาคตได้เลยทีเดียว
Jobcan Payroll
ออกสลิป คำนวณภาษี คิดเงินเดือนออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg
Recent Comments