หนึ่งในงานของ HR ที่น่าปวดหัวอยู่ไม่น้อยเลยคือการคำนวณเงินเดือน ที่นอกจากการตรวจสอบเวลาการเข้างานแล้วยังต้องมีการคำนวณประกันสังคมและภาษี ที่จะมีความเปลี่ยนอยู่เสมออีกด้วย และในการคำนวณภาษีนั้น ยังต้องคอยตรวจสอบช่วงเวลาการยื่นว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ฟังเท่านี้ก็เริ่มปวดหัวกันแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นเรื่องเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ HR ต้องรับผิดชอบ 

วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาเหล่าภาษีที่ HR จะต้องรับผิดชอบคำนวณและยื่นในแต่ละเดือนหรือแต่ละปี ว่าจะมีอะไรบ้าง พร้อมรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร

ภาษีที่ HR จะต้องยื่น

รวมภาษี HR ที่ต้องยื่นจะมีทั้งหมด 7 แบบด้วยกัน มาดูกันมาว่ามีอะไรบ้าง

ภงด. 1 

ภงด. 1 ย่อมาจาก ภาษีเงินได้ ประเภท 1 เป็นภาษีที่ใช้สำหรับการแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงระดับฐานรายรับที่ต้องเสียภาษีแล้ว โดยจะต้องจัดทำและยื่นส่งกรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่หากรายรับไม่ถึงตามที่ฐานกำหนดก็ไม่ต้องยื่น

ภงด.1ก 

ภงด. 1ก ต่างกับ ภงด. 1 ตรงที่จะต้องจัดทำเอกสารและยื่นส่งกรมสรรพากรเสมอ ไม่ว่ารายได้จะถึงฐานรายรับหรือไม่ก็ตาม และจะทำส่งเพียงแค่ 1 ครั้งต่อปี โดยจัดทำส่งในปีถัดไปก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 

สปส. 1-10

สปส. ย่อมาจาก สิทธิ์ประกันสังคม และ สปส. 1-10 ก็คือแบบฟอร์มการส่งเงินสมทบประจำเดือนของบริษัทที่มีลูกจ้างที่จะต้องทำยื่นส่งให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งแบบฟอร์มการยื่นภาษีนี้จะเป็นการแสดงรายการว่า เดือนที่ผ่านมาพนักงานได้รับเงินเดือนเท่าใดและบริษัทได้ทำงานหักส่งเงินประกันสังคมไปเท่าไหร่บ้าง

สปส.1-03,1-03/1

สปส. 1-03 จะทำเมื่อบริษัทมีการรับเด็กใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันตนมาก่อน ส่วน สปส. 1-03/1 เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการยื่นกรณีที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อนแล้วแต่เปลี่ยนบริษัทหรือสถานประกอบการมาเป็นที่ใหม่

ตัวอย่างแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน 

สปส. 6-09, สปส.6-10

สปส. 6-09 เป็นการยื่นเอกสารเมื่อลูกจ้างหรือพนักงานลาออกจากงาน เลิกจ้างหรือนายจ้างให้ออกจากงาน ก็คือสิ้นสุดการทำงานจะต้องยื่นแบบให้แก่สำนักงานประกันสังคมก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากไม่ยื่นภายในเวลาที่กำหนดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

50 ทวิ

น่าจะเป็นเอกสารที่คนทำงานหลายคนคุ้นเคยกันดี เพราะ 50 ทวินี้ เป็นเอกสารรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งจะแสดงถึงรายการเงินได้ของผู้รับเงินว่ามาจากที่ใดบ้าง และมีการหักภาษีส่งให้กับกรมสรรพากรไปเท่าใดโดยจะมีการนำส่งภาษีที่หักไว้ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ผู้รับเงินจะได้รับเอกสาร 50 ทวิ จำนวน 2 ฉบับที่เหมือนกัน เพื่อให้หนึ่งฉบับใช้แนบแสดงรายการภาษีและอีกหนึ่งฉบับเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน

กท. 20

กท. 20 ย่อมาจากกองทุนทดแทน เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ได้ประสบอันตราย เจ็บป่วย เกิดความสูญเสียหรือเสียชีวิตจากการทำงาน โดยกท. 20 นี้จะต่างจากเงินประกันสังคมที่เป็นกองทุนที่นายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเพียงฝ่ายเดียว โดยจะมีการจ่ายกองทุนปีละ 2 ครั้ง 

ครั้งที่ 1 เป็นการจ่ายเงินสมทบประจำปี ภายในวันที่ 31 มกราคม 

ครั้งที่ 2 เป็นการจ่ายเงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง ภายในวันที่ 31 มีนาคม

ฝ่าย HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลนี้ เป็นฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องดูแลอย่างกว้างขวางเพราะสิ่งที่ต้องรับผิดชอบเป็นเรื่องของพนักงานบุคลากรภายในองค์กรนี้เอง ทำให้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวจิปาถะอย่างการดูแลสิ่งแวดล้อมการทำงาน เบิกอุปกรณ์ หรือกระทั่งเรื่องการใช้ห้องส่วนกลางต่างก็อยู่ในความรับผิดชอบของ HR ทั้งสิ้น ซึ่งยังไม่นับรวมกับการคำนวณเงินเดือนของพนักงานที่ต้องทำเป็นประจำทุกเดือนอีกด้วย ทำให้ HR หลายองค์กรมองหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ

และหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจนั้นต้องแนะนำเป็น JOBCAN Payroll ที่จะช่วยคำนวณภาษีทั้งหมดพร้อมกับการอัปเดทความเปลี่ยนแปลงให้ทันทีด้วย ช่วยให้งานของ HR สะดวกขึ้นไม่น้อยเลย

Jobcan Payroll

ออกสลิป คำนวณภาษี คิดเงินเดือนออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg