การคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะแม้ว่า HR จะคัดเลือกมาอย่างดีเพียงใดก็ยังคงมีส่วนที่มองไม่เห็น รับรู้ผ่านการพบหน้า สัมภาษณ์ไม่ได้ การรับพนักงานใหม่จึงเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสำหรับองค์กรอย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงนั้น HR จึงต้องหาวิธีการช่วยคัดเลือกซึ่งในยุคดิจิตอลแบบนี้ การดูตัวตนในโลกออนไลน์หรือ Digital Footprint จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ผลดีทีเดียว

วันนี้ JOBCAN จึงมานำเสนอความสำคัญของ Digital Footprint ที่ HR สามารถนำเอาให้ประโยชน์ได้นั้นจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับ Digital Footprint

Digital Footprint คือร่องรอยที่เราทิ้งเอาไว้เมื่อมีการเข้าใช้งานโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์ การโพสแสดงความคิดเห็นหรือแสดงความรู้สึกล้วนทิ้งร่องรอยที่สามารถตามดูได้เสมอ ทำให้สามารถติดตามได้ว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของผู้สมัครเป็นอย่างไรบ้าง นับเป็นประวัติอีกด้านหนึ่งได้เลย ซึ่งร่องรอยนี้กลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตรวจสอบ ค้นหาและคัดเลือกความสามารถของหลายกรณี ไม่เว้นกระทั่งการคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพและมีเป้าหมายเดียวกันกับที่องค์กรต้องการด้วยเช่นกัน

Digital Footprint สำคัญอย่างไร

Digital Footprint หรือรอยเท้าดิจิตอลนี้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบพฤติกรรมเพราะสามารถทิ้งร่องรอยทั้งแบบที่เกิดจากความตั้งใจหรือที่เรียกว่า Active Digital Footprint และแบบที่ไม่ตั้งใจหรือ Passive Digital Footprint ซึ่งร่องรอยเหล่านี้สามารถติดตามพฤติกรรมและตรวจสอบได้ว่าเป็นใคร แน่นอนว่าสามารถตรวจสอบลึกลงไปได้มากเท่าที่ต้องการ ที่สำคัญคือไม่สามารถขจัดทิ้งได้ จึงทำให้ Digital Footprint เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสนใจ

HR สามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Footprint อย่างไรได้บ้าง

สำหรับ HR แล้วการตรวจสอบ Digital Footprint จะกระทำโดยการเข้าไปดูการเคลื่อนไหวทางโซเชียลมีเดียที่ผู้สมัครได้ให้ไว้ที่ resume ซึ่งทำให้สามารถเห็นได้ถึงพฤติกรรมหรือกระทั่งเป้าหมายในการทำงานได้ เรามาดูประโยชน์ของ Digital Footprint ที่ HR สามารถนำมาใช้กับการรับบุคลากรเพิ่มได้บ้างกัน

ทำความรู้จักกับตัวตนอีกด้านหนึ่งของผู้สมัคร

การมีตัวตนบนโลกออนไลน์นับเป็นอีกส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ทำให้การทิ้งร่องรอยเอาไว้บนโลกดิจิตอลนั้นมีค่อนข้างมาก HR จึงสามารถใช้ Digital Footprint มาทำความรู้จักกับตัวตนอีกด้านหนึ่งของผู้สมัครได้ ทำให้สามารถรู้ได้ว่าตัวตนที่ยังไม่ได้เห็นของผู้สมัครเป็นอย่างไรบ้าง 

นำข้อมูลมาพิจารณาถึงความเหมาะสมต่อบริษัท

ข้อมูลที่ได้จาก Digital Footprint นั้นสามารถบอกได้หลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดคือทักษะต่างๆ ในการใช้ชีวิตเช่น ทักษะการสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจหรือการเป็นผู้นำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมแสดงออกมาได้ง่ายบนโลกออนไลน์ทำให้ HR สามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Footprint ในการตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ได้

สำรวจความสนใจและเป้าหมายว่าสอดคล้องกับบริษัทหรือไม่

พนักงานจะทำงานอย่างเต็มที่เมื่อเป้าหมายขององค์กรและเป้าหมายส่วนตัวของตนเองตรงกันหรืออาจตรงกับความสนใจของพนักงาน ดังนั้นหากได้คัดเลือกผู้สมัครที่มีความสนใจตรงกับความสามารถที่องค์กรต้องการย่อมทำให้องค์กรได้ผลลัพธ์ในการทำงานที่ดีมากขึ้น

สำรวจความคิดและทัศนคติ

หลายครั้งที่ HR คัดเลือกคนเข้ามาแล้วพบกับปัญหาเรื่องทัศนคติที่แตกต่างกัน หรือเคยอยู่ที่ที่มีวัฒนธรรมองค์กรต่างกันและไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้จนต้องลาออกไป ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อมี Digital Footprint ก็สามารถตรวจสอบถึงไลฟ์สไตล์เบื้องต้น ทัศนคติ ความคิดก่อนได้ ทำให้คนที่เข้ามาตรงกับความต้องการมากขึ้น

ตรวจสอบความสามารถของผู้สมัคร

สำหรับ Digital Footprint นั้นไม่เพียงจะเป็นประโยชน์สำหรับ HR หรือผู้ว่าจ้างเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกจ้างหรือผู้สมัครได้ด้วย เพราะสามารถแสดงผลงานต่างๆ ประสบการณ์ของงานที่เคยทำเอาไว้บนโลกออนไลน์ได้ เช่น การฝากผลงานและประวัติไว้บน Linkedin เป็นต้น ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตรวจสอบดูว่างานและความสามารถที่ต่างฝ่ายต่างต้องการนั้นตรงกันหรือไม่ด้วย

Jobcan Attendance

ระบบเข้าออกงานพนักงาน ตอกบัตรออนไลน์
สนใจระบบ Jobcan ติดต่อ 02-107-1867
LINE@ : @jobcan_th
Facebook : Jobcan Thailand
ลงทะเบียนสอบถามข้อมูล : https://bit.ly/3P0dVmg