22.Webinar Employee Experience

10 สิ่งที่ HR ควรรู้! เพื่อก้าวสู่การบริหารงานบุคคลแบบมืออาชีพ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีคนจำนวนมากที่เข้าใจว่าหน้าที่ของ HR มีเพียงแค่การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานและดูแลคนในองค์กร แต่ความจริงแล้ว การทำงาน HR หรือการบริหารงานบุคคลไม่ได้มีเพียงแค่นั้น เพราะงาน HR สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ฝ่ายหลัก ๆ คือ ฝ่ายสรรหาและว่าจ้างบุคลากร ฝ่ายเอกสารข้อมูลพนักงานและสวัสดิการ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร ฝ่ายประเมินผลงาน และฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ นอกจากฝ่ายงานหลัก ๆ ของ HR ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในวันนี้ Jobcan ได้รวบรวมข้อมูล 10 ประการที่ HR ควรรู้ เพื่อก้าวสู่การเป็น HR แบบมืออาชีพมาให้ทุกคนได้อ่านเพื่อเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่สายงาน HR หรือกำลังตัดสินใจเลือกการบริหารงานบุคคลเป็นอาชีพในอนาคต ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด! ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย! HR ต้องมีทักษะการสื่อสารและการประสานงาน ทักษะการสื่อสารและการประสานงานถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ HR เป็นที่ทราบกันดีว่า การสื่อสารถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ แต่การสื่อสารให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่ทุกคนที่จะทำมันได้ดี ทักษะการสื่อสารและประสานงานให้ประสบความสำเร็จต้องเกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝน ดังนั้น การจะเป็น HR มืออาชีพได้ต้องรู้จักสื่อสารและประสานงานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อความสำเร็จและก้าวหน้าทั้งต่อตัวเองและองค์กร HR ต้องละเอียดรอบคอบ […]

เมื่อยุคนี้ คนเราไม่ได้มีแค่อาชีพเดียวอีกต่อไป… พบกับอาชีพเสริมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่นี่!

ในยุคที่ทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินแลกมาอย่างนี้การพึ่งพางานประจำเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของชีวิตอีกต่อไปแล้ว หลายคนที่ทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือนกันจนเข้าที่แล้ว จะเริ่มมองหาช่องทางการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ไปพร้อมกับการทำงานประจำ ไม่ว่าจะเข้าออฟฟิศหรืออาชีพ WFH เพื่อเพิ่มรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่ง และสำหรับบางคนยังเป็นการเสริมประสบการณ์ได้ด้วย วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาอาชีพเสริมน่าทำสำหรับมนุษย์เงินเดือนได้นำไปเป็นตัวเลือกอยู่ 5 อาชีพด้วยกัน แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันว่าทำไมถึงควรทำอาชีพเสริม เหตุผลที่คนในยุคนี้ควรมีอาชีพเสริม หากกล่าวถึงเหตุผลที่ทุกคนควรมีอาชีพเสริม ย่อมเป็นเพราะการมีรายได้เพียงทางเดียวในปัจจุบัน นับเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก เพราะเป็นการฝากความหวังและชีวิตทั้งหมดเอาไว้กับสิ่งๆ เดียว แม้ว่าจะมีการสำรองเงินเผื่อช่วงเวลาฉุกเฉินเอาไว้แล้ว แต่ความไม่แน่นอนนั้นอาจเกิดขึ้นได้เสมอ จึงควรเตรียมทางเลือกสำรองเอาไว้เผื่อเหตุไม่คาดฝัน ดังนั้นการมีรายได้ทางที่สองหรืออาชีพเสริมเผื่อไว้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่คนในปัจจุบันควรเตรียมไว้ช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นตัวช่วยฉุกเฉินหรือเป็นเงินเก็บสำรองก็ตาม อาชีพเสริมที่น่าสนใจสำหรับมนุษย์เงินเดือน ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีทำให้หลากหลายอาชีพในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการดูแลมากนัก สามารถนำมาทำเป็นอาชีพเสริมได้ ลองมาดูตัวอย่างกันเลย อาชีพเสริมด้วยการขายของออนไลน์ อาชีพเสริมอย่างการขายของออนไลน์เป็นอาชีพหนึ่งที่เริ่มต้นได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงมากนัก และยังมีโอกาสสร้างกำไรสูงด้วยพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันที่มักจะเข้าโลกออนไลน์กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจากสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ก็ตาม นอกจากนี้การทำอาชีพเสริมด้วยการขายของออนไลน์ ยังมีตัวช่วยในการซื้อ-ขายที่สะดวกสบายอย่างแพล็ตฟอร์ม e-commerce ทำให้ไม่จำเป็นต้องคอยดูแลตลอดเวลา เหมาะอย่างมากสำหรับการสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม อาชีพเสริมด้วยการเป็น Youtuber  ประสบการณ์และความรู้เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างประเมินไม่ได้ แต่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างแน่นอน ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การออกกำลังกาย หรือกิจวัตรประจำวัน ผ่านบล็อกหรือช่องยูทูป โดยที่ประสบการณ์หรือเรื่องราวเหล่านั้นสามารถเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ทำให้มีการเข้าชมที่มากขึ้นจนเกิดเป็นรายได้ได้เช่นกัน นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการทำเป็นอาชีพเสริมเลยทีเดียว เพราะไม่จำเป็นดูแลมากนัก อาชีพเสริมด้วยการเป็นนักเขียน สำหรับคนที่ชอบจดบันทึกหรือเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือแล้ว […]

workflow คือ

ลดเวลา ลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพงานเอกสารด้วยระบบ Workflow

การจัดการเอกสารภายในองค์กรเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก องค์กรจะเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างราบรื่นได้ ต้องมีระบบการจัดการภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เป็นระเบียบชัดเจน มีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า และสามารถตรวจสอบขั้นตอนการทำงานได้ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้อย่างเป็นระเบียบมากขึ้นรวมทั้งองค์กรก็สามารถวางแผนการทำงานในอนาคตได้อย่างเป็นระบบ แล้วบริษัทจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการจัดการเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กรได้อย่างไร วิธีการง่าย ๆ คือการหาตัวช่วยออนไลน์โซลูชันหรือเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องการจัดการเอกสาร ซึ่งในที่นี้คือระบบ workflow หรือตัวช่วยจัดการเอกสารภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยให้ประสานงานกันได้ง่าย สะดวกและเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการจัดการเอกสาร การอนุมัติหรือการตรวจสอบเอกสารภายในบริษัท ก็สามารถจัดการได้ง่าย ๆ ผ่านระบบ workflow ระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร รองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคตได้ การมีระบบหรือขั้นตอนการทำงานที่สามารถต่อยอดได้ง่ายขึ้นจะเป็นข้อดีของการบริหารองค์กรให้เติบโตในอนาคต มีความปลอดภัย ตัวระบบต้องมีความปลอดภัย เพราะเอกสารต่าง ๆ นั้นเป็นความลับของบริษัทที่ต้องจัดเก็บอย่างดีไม่ให้ข้อมูลถูกเผยแพร่ไปยังบุคคลภายนอก  จัดเก็บเอกสารแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม การจัดเก็บเอกสารต้องเหมาะสมกับประเภทเอกสารแต่ละชนิด เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง รวมไปถึงวิธีการทำงานด้วยเช่นกัน ลักษณะของเอกสารแต่ละประเภทใช้วิธีการจัดการแตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการจัดการเอกสารแต่ละประเภทต้องมีระบบที่เหมาะสมสอดคล้องกันไปเพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลมาประมวลผลและรายงานข้อมูลได้ง่ายขึ้น ค้นหาเอกสารได้ง่าย ตัวระบบไม่ยุ่งยาก ระบบที่ดีต้องเป็นระบบที่เข้าใจง่าย ค้นหาเอกสารได้อย่างรวดเร็ว พนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องสามารถเข้าถึงตัวระบบได้ และเข้าใจว่าตัวระบบทำงานอย่างไร ข้อดีของการใช้ระบบ Workflow ข้อมูลปลอดภัย ระบบ workflow จะกำหนดรหัสการเข้าใช้งาน เฉพาะบุคลากรในองค์กรเท่านั้นที่เข้าสู่ตัวระบบได้ และยังกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเอกสารแต่ละประเภทให้เฉพาะตำแหน่งงานได้อีกด้วย นอกจากนี้ระบบ workflow […]

ระบบบันทึกเวลาเข้าออกงาน

ไขข้อสงสัย ระบบบันทึกเวลาเข้าออกงานสำคัญอย่างไรต่อองค์กร

“Time is money.” “時は金なり” “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” เป็นที่ทราบกันดีว่า ไม่ว่าจะชนชาติไหน ๆ ต่างก็ให้ความสำคัญกับเวลา จะสังเกตได้จากสำนวนในภาษาต่าง ๆ ที่เปรียบเวลาเป็นสิ่งของมีค่าหรือสิ่งสำคัญ ‘เวลา’ ยังนับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จ ดังนั้น การประสบความสำเร็จในชีวิตหรือการมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบจึงเริ่มต้นง่าย ๆ ได้จากการบริหารเวลาชีวิตให้สมดุล ในชีวิตการทำงาน ทักษะการบริหารเวลาถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะตัวพนักงานเองที่ต้องบริหารเวลาเพื่อทำงานให้ทันกำหนด หรือตัวองค์กรที่ต้องดูแลจัดการเวลางานของพนักงานด้วยเช่นกัน เนื่องจากชั่วโมงการทำงานและการเข้า-ออกงานของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการคำนวณเงินเดือน การประเมินการทำงาน หรือการเลื่อนขั้นต่าง ๆ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความมีวินัยและความใส่ใจต่อหน้าที่การงานของพนักงาน หลายบริษัทมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้ยืดหยุ่นมากขึ้นโดยยกเลิกการบันทึกเวลาเข้าออกงาน ทว่านโยบายดังกล่าวนั้นต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและการรู้หน้าที่ตัวเองของพนักงานด้วยเช่นกัน หากความยืดหยุ่นในการทำงานส่งผลให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่หากความยืดหยุ่นนั้นทำให้พนักงานขาดความกระตือรือร้นและขาดความรับผิดชอบ บางทีกฎระเบียบการบันทึกเวลาเข้าออกงานอาจยังเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าขององค์กรก็ว่าได้ Attendance management คืออะไร จำเป็นอย่างไรต่อองค์กร ระบบบันทึกเวลาเข้าออกงาน (Attendance Management System) เป็นระบบบริหารงานบุคคลที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยจัดการเวลาการทำงานของคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเวลาเข้าออกงาน การจัดการกะงาน การส่งคำขอลาหรือขอโอที ระบบบันทึกเวลางานจำเป็นต่อองค์กรที่ต้องการก้าวทันเทคโนโลยี เพราะการจัดการเวลางานที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยแบ่งเบาภาระงานและช่วยให้การทำงานของ HR สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ส่งเสริมระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน อีกทั้งยังลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของข้อมูลที่อาจส่งผลต่อการคำนวณเงินเดือนได้อีกด้วย เคล็ดลับความสำเร็จขององค์กรสมัยใหม่หลาย ๆ […]

เมื่อฝ่าย HR เป็นคนถูกประเมิน.. อ่านตัวชี้วัด KPIs สำหรับ HR ได้ที่นี่

ไม่ว่าจะเป็นแผนกไหนหรือทำงานส่วนใดก็จะต้องมีการวัดประสิทธิภาพการทำงานหรือกำหนด KPI เพื่อการพัฒนาหรือประเมินผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับส่วนงานของ HR ที่หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่างานที่ดูแลบริหารทรัพยากรภายในองค์กรรอบด้านแบบนี้ควรจะประเมินอย่างไรให้สามารถวัดผลได้จริงและครอบคลุมทุกส่วนงานที่ HR รับผิดชอบอยู่ วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาหัวข้อหลักที่จะใช้ในการประเมินการทำงานของฝ่าย HR มาเป็นตัวอย่าง ซึ่งนับเป็นหัวข้อการประเมินวัด KPI HR ที่ครอบคลุมการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลมากที่สุด และยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กรอีกด้วย โดยจะมีด้วยกัน 10 หัวข้อ ดังนี้ งานด้านการวางแผนทรัพยากรบุคคล (HR Planning) เริ่มกันด้วยการประเมินงานด้านการวางแผน การจัดการทรัพยากรบุคคลว่ามีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการดำเนินงานขององค์กรหรือไม่ โดยตัวอย่างของหัวข้อย่อยในการประเมินจะมีลักษณะดังนี้ เวลาที่ใช้ในการจัดทำแผนงาน อัตราการลาออกของบุคลากร การบริหารค่าใช้จ่ายของบุคลากร งานด้านการสรรหาคัดเลือกบุคลากร (Recruitment & Selection) งานหนึ่งของฝ่าย HR คืองานสรรหาสมาชิกใหม่ให้กับองค์กรจึงต้องมีการประเมินงานในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน โดยการประเมิน KPI HR จะเริ่มวัดผลตั้งแต่การประกาศหาไปจนถึงการผ่านช่วงทดลองงานของสมาชิกใหม่ไปแล้ว ซึ่งจะมีตัวอย่างการกำหนดหัวข้อย่อยดังนี้ จำนวนช่องทางที่เปิดรับสมัคร จำนวนผู้สมัครในแต่ละช่องทาง (วิธีการเขียน Job Description ที่ดี) ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคลากร ระยะเวลาในการบรรจุตำแหน่งว่าง งานการบริหารค่าตอบแทน (Compensation Management) เมื่อเป็นส่วนการบริหารทรัพยากรบุคคลแล้วก็จะต้องรับผิดชอบในการบริหารเงินเดือน […]

ถามคำถามอย่างไรให้โดนใจ HR เมื่อไปสัมภาษณ์งาน

“สุดท้ายนี้ มีอะไรอยากถามไหมคะ/ครับ?” หลาย ๆ คนคงเคยผ่านประสบการณ์สัมภาษณ์งานและคุ้นเคยกับประโยคคำถามดังกล่าวจาก HR ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สมัครถามคำถามอะไรก็ได้ที่ต้องการทราบ แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำถามข้อนี้จาก HR ไม่ใช่เพียงแค่การถามเล่น ๆ หรือคำถามชวนคุย เพราะการตอบคำถามข้อนี้สามารถวัดทัศนคติและการเตรียมความพร้อมของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การตอบผู้สัมภาษณ์ว่าไม่มีคำถามจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่าไรนัก การถูกเรียกไปสัมภาษณ์นั่นหมายความว่าโอกาสขั้นแรกอยู่ในกำมือคุณแล้ว อย่าปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป! เตรียมคำถามที่เหมาะสมสำหรับการสัมภาษณ์งานเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการแสดงทัศนคติและแสดงความพร้อมที่มีต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ ให้ HR ได้รับรู้ แล้วคำถามแบบไหนที่ควรถาม HR คำถามแบบไหนที่ควรเลี่ยงกันนะ? สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งานและคิดไม่ตกว่าจะถามคำถามแบบไหน บทความนี้ของ Jobcan จะขอแนะแนวคำถามที่ควรถาม HR และยกตัวอย่างคำถามให้ดูกัน ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย! คำถามแบบไหนที่โดนใจ HR ตราบใดที่การสัมภาษณ์ยังไม่จบลง นั่นแปลว่าโอกาสในการแสดงให้ HR เห็นว่าคุณเหมาะสมและพร้อมสำหรับตำแหน่งงานก็ยังไม่สิ้นสุดลงเช่นกัน ดังนั้น คำถามที่ถาม HR ควรเป็นคำถามที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของคุณที่มีต่อตำแหน่งงานว่าคุณสนใจและต้องการทำงานนี้จริง ๆ ซึ่งคำถามที่จะทำให้คุณดูน่าสนใจและโดดเด่นในการสัมภาษณ์งาน มีดังนี้ คำถามเกี่ยวกับตำแหน่งงาน การถามเกี่ยวกับตำแหน่งงานไม่ควรถามถึงข้อมูลที่มีระบุไว้แล้วในรายละเอียดงาน (job description) แต่ควรถามเกี่ยวกับเรื่องที่คุณยังไม่มีข้อมูล เช่น อุปสรรคและความท้าทายที่ต้องเผชิญในการทำงานตำแหน่งนี้ เป้าหมายที่ควรบรรลุภายใน […]

เจ้าของกิจการอ่านด่วน! วิธีเตรียมรับมือกับ ‘กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’ (PDPA) ก่อนจะสายเกินไป

การประกาศใช้ PDPA ในเวลานี้เรียกว่าเป็นการปลุกความตื่นตัวในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นในทุกองค์กรเลยทีเดียวโดยเฉพาะเจ้าของกิจการต่างๆ ที่ต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของพนักงานและอาจมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าหรือผู้รับบริการจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้กิจการหรือองค์มีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้รอบคอบและปลอดภัยมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ JOBCAN จึงมีแนวทางการจัดการในองค์กรให้สามารถจัดระบบการดูแลจัดการการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างรัดกุมปลอดภัยมากขึ้น โดยมีด้วยกัน 5 สเต็ป ดังนี้ สร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานในองค์กร การประกาศใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA เมื่อวันที่ 1 มิถุนาที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้สร้างความตระหนักรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงมากนักสำหรับการทำงานในชีวิตประจำวัน จึงควรมีการชี้แจงถึงความเปลี่ยนแปลงที่องค์กรจะต้องรับมือเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในองค์กรหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรได้ โดยในการสร้างความตระหนักรู้นั้นสามารถทำได้โดยการจัดอบรมให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการคิดกระบวนการหรือสร้างวิธีการจัดการข้อมูลส่วนตัวในฝ่ายงานของตนเองขึ้นมาเพื่อเสนอให้องค์กรนำไปปรับใช้ เรียกว่าเป็นการสร้างความความรู้สึกร่วมให้พนักงานรักในองค์กรมากขึ้นไปด้วยในตัว จัดทีมพิเศษเพื่อให้ข้อมูลแก่พนักงานและตรวจสอบการใช้งานข้อมูล นอกจากการสร้างความตระหนักรู้แล้ว ในองค์กรควรมีการจัดกลุ่มคนที่รู้ข้อมูลเพื่อคอยตอบคำถามเกี่ยวกับ PDPA อย่างแม่นยำและถูกต้องโดยสมาชิกของกลุ่มควรมาจากแต่ละแผนกเพื่อให้พนักงานสามารถสอบถามเรื่องราวที่สงสัยได้ทันที เป็นการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่รู้ได้ ที่สำคัญกลุ่มทีมพิเศษที่มีความเข้าใจใน PDPA นี้ยังต้องคอยตรวจสอบการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลให้อยู่ในข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับเจ้าของข้อมูล แบบนี้จะเป็นการป้องกันความผิดพลาดได้สองต่อเลยทีเดียวเพราะนอกจากการให้ข้อมูลแล้ว ยังมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาในช่วงปรับตัวขององค์กร วิเคราะห์กิจกรรมในแต่ละภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับ PDPA  สิ่งสำคัญในการปรับการทำงานเพื่อ PDPA นี้คือความเข้าใจในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง แต่การทำความเข้าใจในทุกภาคส่วนอย่างครอบคลุมนั้นอาจยากเกินไปโดยเฉพาะกับพนักงานทุกคนในองค์กร แต่สามารถแบ่งส่วนงานในแต่ละแผนกออกมาเพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่างานในส่วนนี้หรือแผนกนี้มีความเกี่ยวข้องกับ PDPA อย่างไรบ้าง สามารถละเมิดได้อย่างไรและควรจะป้องกันการละเมิดได้อย่างไร แน่นอนว่าในขั้นตอนนี้ทีมพิเศษที่ได้จัดตั้งขึ้นจะต้องมีความเข้าใจในส่วนงานและความเกี่ยวข้องทั้งหมดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อการตรวจสอบการจัดการข้อมูลไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เตรียมพร้อมรับมือเหตุไม่คาดฝัน ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีการป้องกันมากมายแต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้ แทนที่จะไปรับมือเอาตอนนั้น เจ้าของกิจการจึงควรคิดถึงเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดชึ้นได้และคิดหาวิธีการรับมือเอาไว้ล่วงหน้า โดยอาจเป็นมาตรการที่ตั้งขึ้นเมื่อเกิดปัญหาโดยเรียงลำดับจากความรุนแรงของเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถรับมือและจัดการปัญหาได้อย่างรอบคอบรัดกุม คัดเลือกเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลจัดการ […]

รู้หรือไม่? ปัญหาที่มักพบในการ Implement PDPA ในงาน HR

เมื่อมีการประกาศใช้ PDPA หรือพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทำให้การดูแลข้อมูลส่วนตัวมีความเข้มงวดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรที่ต้องมีการจัดการที่รัดกุมมากพอ เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมาย และยังเป็นการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลด้วย โดยเฉพาะกับส่วนงานของ HR ที่จะต้องคอยเก็บข้อมูลสำคัญของบริษัทมากมาย จนทำให้อาจเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ PDPA อยู่บ้าง  ก่อนจะไปดูว่าข้อควรระวังในปัญหาที่มักพบเมื่อมี PDPA แล้วนั้น เรามาทำความรู้จักกับโทษที่จะได้รับเมื่อไม่ได้ปฏิบัติตาม PDPA โทษของการไม่ปฏิบัติตาม PDPA การกำหนดโทษของ PDPA นั้นจะมีด้วยกันถึง 3 ส่วน ซึ่งจะมีการกำหนดโทษที่แตกต่างกันออกไปตามความผิดที่ได้กระทำ โดยมีรายละเอียดดังนี้ โทษทางแพ่ง โทษทางแพ่งของ PDPA จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลมีความจงใจหรือเกิดความประมาทเลินเล่อกับข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของข้อมูล จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเป็น 2 เท่าของความเสียหายจริง โดยจะมีอายุความอยู่ที่ 3 ปีนับจากวันที่ผู้เสียหายทราบความเสียหายหรือ 10 ปีนับจากวันที่ละเมิด  โทษทางอาญา โทษทางอาญาของ PDPA จะเกิดขึ้นเมื่อมีการดำเนินการกับข้อมูลนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ จนทำให้เกิดความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ซึ่งกำหนดให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีปรับไม่เกิน 1,000,000 […]

ระบบบันทึกเวลางาน

6 เหตุผลสำคัญ! ทำไมองค์กรควรใช้ระบบบันทึกเวลาเข้าออกงาน

ในปัจจุบัน การว่าจ้าง HR Outsource หรือบุคลากรภายนอกให้เข้ามาจัดการเรื่องงานบริหารบุคคลเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจ เพราะการสรรหา HR ที่สามารถบริหารจัดการงานได้ครอบคลุมทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบชั่วโมงการทำงาน การขาด ลา มาสายของบุคลากรในองค์กร การประเมินงาน หรือการจ่ายเงินเดือนนั้นถือเป็นเรื่องยาก ซึ่งภาระเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของ HR ที่ต้องให้ความสำคัญ ใส่ใจและรอบคอบเป็นอย่างมากในการทำงาน แต่การสรรหาบุคลากรที่ครบเครื่องเรื่อง HR จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ด้วย HR Technology ซึ่งเป็นระบบที่นำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ HR โดยในวันนี้ Jobcan จะขอนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องการจัดการเวลาเข้าออกงาน หรือ Attendance Management System จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย! ระบบจัดการเวลางาน (Attendance Management System) เป็นระบบที่ช่วย HR เรื่องการจัดการเวลางาน เช่น การบันทึกเวลาเข้า-ออกงาน การขอลา การขอกะงาน การขอโอทีของพนักงาน โดยระบบจัดการเวลางานที่ดีต้องไม่ใช่แค่เครื่องบันทึกเวลาเข้า-ออกงาน แต่ต้องเป็นระบบที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้โดยที่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในระบบ องค์กรของคุณกำลังเจอปัญหาเหล่านี้หรือไม่? พบข้อผิดพลาดจำนวนมากในประวัติการเข้าออกงาน เกิดปัญหาเรื่องการลงเวลางานแทนกัน ตรวจสอบข้อมูลการลงเวลางานไม่ได้ รอแล้วรออีก รอให้หัวหน้าอนุมัติคำขอลา ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ง่าย […]

บริษัทคุณมี PIP หรือ Performance Improvement Plan ที่ดีแล้วหรือยัง?

หลายครั้งที่หัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลต้องเผชิญกับสภาวะการทำงานที่ไม่มั่นคง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานตกต่ำลงเรื่อยๆ ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งที่เมื่อก่อนเคยทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม เรียกว่าทำให้หัวหน้าและฝ่ายบุคคลต้องปวดหัวกันเลยทีเดียว เพราะด้วยผลงานเก่าที่ยอดเยี่ยมนั้นทำให้เสียดาย หากจะลดตำแหน่งหรือให้ลาออก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดวิธีกระตุ้นและดึงศักยภาพของพนักงานให้กลับคืนมาอีกครั้ง หรือที่เรียกกันว่า PIP (Performance Improvement Plan) PIP หรือ Performance Improvement Plan คืออะไร PIP หรือ Performance Improvement Plan คือแผนการปรับปรุงผลการทำงานของพนักงานที่ตกต่ำให้กลับมาอยู่ในระดับที่บริษัทคาดหวัง โดยเป็นการสร้างแผนเพื่อกระตุ้นทั้งในเรื่องศักยภาพการทำงานหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะในที่ทำงาน สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องในการกอบกู้ให้พนักงานพัฒนาตนเองเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างผลงานที่บริษัทต้องการอีกครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้ PIP PIP ควรเข้ามามีบทบาทเมื่อหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลพบว่ามีพนักงานที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เช่นไม่ตรงต่อเวลา ทำงานไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือมีส่วนร่วมในการทำงานน้อยลง และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ผลงานที่สร้างขึ้นก็ตกต่ำตามไปด้วย ซึ่งเน้นเป็นการปรับพฤติกรรมหรือช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองเพื่อสร้างผลงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ทางองค์กรสามารถใช้ PIP ในการทดลองงานได้ด้วยเช่นกัน ลักษณะที่ดีของ PIP PIP เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถดึงศักยภาพของพนักงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัทสามารถใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้พนักงานได้รับการกระตุ้นและมีแรงจูงใจในการทำงานได้ง่ายโดยไม่มีต้นทุนที่ต้องจ่ายทั้งยังมีประสิทธิภาพอีกด้วย แต่ PIP ที่ดีนั้นยังมีลักษณะสำคัญที่จะขาดไม่ได้อยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ หัวหน้าและฝ่ายบุคคลที่ต้องการทดสอบควรเข้าใจถึงโปรแกรม การทำโปรแกรม PIP นั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรรับรู้และเข้าใจถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทดสอบอย่างแน่ชัดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่มีการขัดขวาง […]

อยากให้งานเอกสารในองค์กรง่ายขึ้นไหม? เชิญเข้าร่วมการสัมมนา HR “ลดเวลา ช่วยลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพงานเอกสาร ด้วยระบบ Workflow ” โดยทีมงาน JOBCAN ฟรี!

รู้หรือไม่ว่า…..เวลาจำนวน 70% ของพนักงานเงินเดือนหมดไปกับการดำเนินเอกสาร รู้หรือไม่ว่า…..พนักงานใช้เวลาทำเอกสาร 40-60% ของเวลาทำงานทั้งหมด และนับเป็น 20-40% ของค่าแรง รู้หรือไม่ว่า…..เวลา  10% ของเวลาทำงานของพนักงาน ใช้ในการหาข้อมูลและเอกสาร บางที่ก็บอกว่าพนักงานใช้เวลา 10-15% อ่านข้อมูล แต่ใช้เวลา 50% ในการหาข้อมูล นี่เป็นเพียงสถิติเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ก็ทำให้เราได้รู้ว่าการทำเอกสารถือเป็นภาระของทั้งพนักงานและผู้ประกอบการ เมื่อคำนึงถึงชั่วโมงทำงานและค่าแรงที่เสียไปในแต่ละวันโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อคำนึงถึงเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน อาทิ ระบบ Workflow หรือ E-signature ซึ่งเป็นการลดกระดาษ ที่ช่วยทำให้องค์กรต่างๆ เข้าสู่ระบบ Paperless ผู้ประกอบการและ HR สามารถจัดการเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงทำให้พนักงานมีเวลาไปทำงานของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลต่อกิจการไม่มากก็น้อย วันนี้ทาง JOBCAN ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและ HR ทุกท่านมาไขความลับระบบ Workflow รวมถึงวิธีบริหารจัดการเอกสารให้เหมาะกับองค์กรของคุณมากยิ่งขึ้น รายละเอียดการสัมมนา HR มีดังนี้ วัน : พฤ 7 กรกฎาคม 2565 […]

ระบบลงเวลาเข้างาน (Attendance Management) ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

การตอกบัตรในรูปแบบเก่านั้นไม่สามารถตอบโจทย์รูปแบบการทำงานที่ลดการสัมผัส เพิ่มความสะดวกสบายได้อีกต่อไปแล้ว หลายบริษัทจึงมีการมองหาระบบลงเวลาเข้างานเข้ามาทดแทน  ไม่แต่ระบบการลงเวลาแบบไหนถึงจะดีที่สุดและควรตอบโจทย์ในการลงเวลาอย่างไรได้บ้างจึงจะคุ้มค่าสำหรับการลงทุนอย่างที่สุด  วันนี้ JOBCAN ได้รวบรวมเอาประสิทธิภาพที่ระบบลงเวลาเข้างานควรมีมาไว้ให้แล้ว มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย บันทึกลงเวลาเข้างานได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งบริษัทและพนักงานต่างลงบันทึกเวลาเข้างาน เพื่อให้สามารถตรวจสอบการเข้าทำงานตามข้อตกลงอย่างถูกต้อง ดังนั้น การลงเวลาเข้างานจึงควรมีการบันทึกอย่างตรงไปตรงมาในทุกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าการลงเวลานั้นมีความถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขหรือการบันทึกหมายเหตุเพิ่มเติม หากทำได้จะช่วยลดความหวาดระแวงระหว่างบริษัทและพนักงานลงได้อย่างแน่นอน พนักงานต้องสามารถลงเวลาเข้างานได้อย่างสะดวกสบาย การลงเวลาเข้าเป็นเรื่องที่ต้องทำทุกเช้าเมื่อเข้าทำงาน กลางวันเมื่อพักทานข้าวและเย็นเมื่อถึงเวลาเลิกงาน ตลอด 5-6 วันต่อสัปดาห์ นับเป็นจำนวนครั้งที่ไม่น้อยทีเดียว หากการลงเวลาเข้างานทำได้ยากและวุ่นวาย บริษัทจะต้องเสียทรัพยากรทางด้านเวลาไปกับการลงเวลาของพนักงานแต่ละคน ซึ่งแม้จะเป็นระยะเวลาไม่นานมากนัก แต่หากรวมกันแล้วก็นับว่าสูญเสียอยู่ดี ดังนั้นควรมองหาระบบลงเวลาเข้างานที่มีความสะดวก สามารถบันทึกได้ง่ายหรือหลายตัวเลือกเพื่อความสะดวกสบายของพนักงานเอง ระบบสามารถบันทึกสถานที่การลงเวลาเข้างานได้ องค์กรมากมายกำหนดว่า พนักงานทุกคนจะต้องมีการลงบันทึกเวลาเข้างานเพื่อบันทึกเวลาทำงาน แต่กลับมีพนักงานกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถบันทึกเวลาด้วยวิธีการตามปกติอย่างสแกนนิ้วมือหรืออื่นๆ ที่บริษัทได้ เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มักต้องทำงานนอกสถานที่อยู่เสมอ แต่ถึงอย่างนั้นบริษัทจะยกเว้นให้คนกลุ่มนี้ก็ดูจะไม่ยุติธรรมทั้งกับพนักงานคนอื่นๆ และบริษัทเองก็ตรวจสอบได้ยาก ดังนั้น หากต้องเลือกระบบลงเวลาเข้างานแล้วจึงควรเลือกระบบที่รองรับการลงบันทึกในต่างสถานที่ ด้วยอุปกรณ์ติดตัวอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตด้วยจึงจะเหมาะสมที่สุด HR และพนักงานสามารถตรวจสอบการลงเวลาเข้างานได้ ระบบการลงเวลาที่ให้เพียง HR ตรวจสอบได้ทางเดียวนั้น นับว่าสร้างปัญหาให้กับฝ่ายบุคคลฯ ไม่น้อยเลย เนื่องจากจำนวนของพนักงานที่ฝ่ายบุคคลต้องดูแลทั้งหมดนั้นไม่เท่ากัน หากมีการนับเวลาผิดพลาดเกิดขึ้นย่อมไม่ยุติธรรมต่อพนักงานคนนั้น เพราะเวลาการทำงานนั้นส่งผลต่อเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับ ทำให้ในปัจจุบันนี้มักจะให้พนักงานสามารถตรวจสอบการลงเวลาเข้างานได้ด้วยตัวเอง สามารถตรวจสอบความผิดพลาดและทำการแก้ไขได้โดยมีการบันทึกเอาไว้ทั้งหมด แบบนี้ความผิดพลาดในการบันทึกเวลาย่อมน้อยลง ที่สำคัญพนักงานสามารถบริหารเวลาการทำงานของตัวเองได้ดีขึ้นด้วย ระบบสามารถคำนวณเวลาการทำงานได้ง่าย […]