การตามหาบุคลากรที่มีความสามารถตรงกับความต้องการขององค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยซึ่งสามารถนับได้ว่านี่เป็นงานที่ท้าทายงานหนึ่งของ HR เลยทีเดียว แต่ก็ใช่ว่า HR จะไม่มีตัวช่วยดีๆ เพราะการหาคนที่มีความสามารถได้ตามต้องการนั้น HR สามารถขอความร่วมมือจากพนักงานให้มีการแนะนำบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาสมัครหรือสัมภาษณ์งานกับบริษัทได้เช่นกัน โดยวิธีนี้จะเรียกว่า Employee Referral Program วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอารายละเอียดของวิธีการดีๆ อย่าง Employee Referral Program นี้มาแบ่งปันให้ได้รู้กันว่าคืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร พร้อมข้อดี ข้อเสียและวิธีการดึงดูดพนักงานให้ช่วยแนะนำ ไปดูกันเลย ทำความรู้จักกับ Employee Referral Program Employee Referral Program คือโปรแกรมที่เปิดให้พนักงานได้แนะนำคนรู้จัก เพื่อนหรือครอบครัวให้กับบริษัทในตำแหน่งที่กำลังสรรหาบุคลากรเข้ามารับตำแหน่ง โดยมีแรงจูงใจในการดึงดูดให้พนักงานเข้าร่วมโปรแกรมเป็นค่าตอบแทนในการตามหาบุคลากร เมื่อคนที่ได้รับการแนะนำผ่านการสัมภาษณ์และได้รับเข้าเป็นพนักงานแล้ว ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้หาบุคลากรที่ต้องการได้เร็วมากขึ้น ขั้นตอนการทำ Employee Referral Program การทำ Employee Referral Program ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ละองค์กรสามารถออกแบบได้ตามต้องการ โดยส่วนมากจะมีขั้นตอนดังนี้ กำหนดเป้าหมายการว่าจ้าง ความจริงแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนพื้นฐานตามปกติที่ต้องทำในการรับสมัครบุคลากรหรือพนักงานในทุกตำแหน่ง ที่จะต้องกำหนดเป้าหมายในการว่าจ้างว่าต้องการกี่คน ในระดับใดบ้าง และต้องการภายในระยะเวลาเท่าใด การกำหนดเป้าหมายการว่าจ้างนี้จะต้องกำหนดร่วมกับแผนกหรือฝ่ายงานที่รับผิดชอบงานในตำแหน่งนั้นๆ ด้วยเพื่อให้สามารถเติมเต็มความสามารถที่ต้องการได้ […]
ทุกองค์กรหรือบริษัทต้องมีการมอบสิทธิ์วันลาให้กับพนักงานเพราะเป็นสิ่งที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายแรงงาน ซึ่งสิทธิ์การใช้งานนั้นย่อมเป็นสิ่งที่พนักงานจะบริหารกันเอง และในบางบริษัทยังมีการให้สิทธิ์การลาในจำนวนที่แตกต่างกันด้วย แต่ถึงอย่างนั้นหลายบริษัทก็ยังคงให้สิทธิ์การลาแบบไม่รับเงินเดือนหรือที่เรียกกันว่า Leave Without pay นั่นเอง ซึ่งบางครั้งวิธีนี้ก็สร้างปัญหาให้กับบริษัทอยู่บ้างเช่นกัน วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาวิธีการจัดการหรือมาตรการที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการลางานแบบไม่รับค่าจ้างของพนักงานที่ลางานบ่อยครั้งจนกระทบกับประสิทธิภาพการทำงานของทีมหรือบริษัท ทำความรู้จักกับ Leave Without pay หรือการลางานแบบไม่รับค่าจ้าง Leave Without pay หรือการลางานแบบไม่รับค่าจ้าง คือการขาดงานโดยหักค่าจ้างออกตามวันที่ขาดงานและยังคงสถานะการเป็นลูกจ้างดังเดิม แต่สามารถหยุดงานได้ไม่ต่างจากวันลาพักร้อน ทั้งนี้ในบางบริษัทอนุญาตให้พนักงานสามารถหยุดระยะสั้นแบบไม่รับค่าจ้างในกรณีที่แจ้งเรื่องลาพักหรือใช้วันลาพักร้อนหมดแล้ว หรือจะเป็นการลางานระยะยาวเพื่อเรียนต่อหรือทำธุระอื่นๆ ก็ได้ ซึ่งการลางานเช่นนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่มีการตกลงกับบริษัทแล้วเท่านั้น มาตรการการรับมือการลางานแบบไม่รับค่าจ้าง แม้ว่าจะบอกว่าเป็นการตกลงกันระหว่างบริษัทและพนักงานแต่ในบางครั้งการลางานแบบไม่รับเงินเดือนก็เป็นทางเลือกที่บริษัทยื่นให้เมื่อเผชิญกับวิกฤต แล้วพนักงานควรรับมืออย่างไร คำนวณค่าใช้จ่าย อย่างแรกที่พนักงานควรทำเลยคือกลับมาดูเงินที่เหลืออยู่ทั้งหมดของตนเองและคำนวณดูว่าสามารถใช้จ่ายได้ครอบคลุมตามระยะเวลาการหยุดงานของบริษัทหรือไม่ โดยคำนวณให้ชัดเจนทั้งค่ากินอยู่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยให้มีเงินสำรองเผื่อเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝัน ตรวจสอบเงื่อนไขในการหยุดงาน หลังจากได้รับสัญญาหรือข้อตกลงในการลางงานไม่รับค่าจ้างแล้ว ให้ตรวจสอบถึงเงื่อนไขให้ดีว่าจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง มีผลเสียอย่างไรบ้าง เพื่อคำนวณถึงความคุ้มค่าในการรอคอยและคำนวณถึงความเป็นไปได้ที่จะสามารถอยู่รอดรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง หากมีเงื่อนไขที่รับไม่ได้ จะสามารถต่อรองกับบริษัทได้หรือไม่ ควรตรวจสอบให้มั่นใจ วางแผนรับมือความเสี่ยง เดิมทีการทำงานทุกวันและรับเงินทุกเดือนเป็นความมั่นคงอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อดีของการทำงานบริษัทเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่หากมีการลางานแบบไม่รับค่าจ้างเกิดขึ้นย่อมแปลได้ว่าพนักงานกำลังเผชิญกับความเสี่ยงอยู่ แล้วจะมีการวางแผนรับมืออย่างไรจึงจะเหมาะสม โดยในช่วงเวลาที่ลาหยุดอาจมีการเริ่มทำธุรกิจเล็กน้อยหรือมองหางานพาร์ทไทม์เพื่อหารายได้มาให้พอใช้จ่ายต่อไป มองหางานอดิเรกที่สร้างรายได้ สำหรับใครที่กังวลอย่างมากถึงหนทางในอนาคตของบริษัท สามารถใช้เวลาว่างที่ลาพักนี้ในการเริ่มต้นงานอดิเรก […]
การดำเนินงานในองค์กรทุกอย่างไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงเท่าใดก็ตามต่างก็เป็นงานที่มีต้นทุนเสมอ แต่กลับไม่ใช่ทุกงานที่จะสร้างกำไรหรือคืนทุนได้อย่างที่ต้องการ ทำให้องค์กรต้องขาดทุนกับส่วนงานแบบนี้อยู่เสมอ แน่นอนว่าหลายองค์กรก็ต้องหาวิธีลดต้นทุนหรือการดำเนินงานที่ไม่ให้ประโยชน์นี้ออกไป จนกระทั่งได้พบกับระบบ Lean ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดการดำเนินงานที่ไร้ประโยชน์หรือไม่สร้างกำไรออกไป เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้จักกับ Lean Management กันแล้ว วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาข้อมูล Lean Management มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ไปดูกันเลย ทำความรู้จักกับ Lean Management Lean Management หรือระบบลีน คือการปรับการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นและลดส่วนที่ไม่สร้างมูลค่าออกไป บางทีอาจเป็นการลดขั้นตอนต่างๆ เช่น ลดขั้นตอนการจัดการเอกสาร ตรงตามความหมายของคำว่า Lean ซึ่งหมายถึงการกำจัดสิ่งที่ไม่ต้องการหรือไม่จำเป็นออกไป สำหรับการบริหารจัดการภายในองค์กรย่อมเป็นการ ตัดลดส่วนที่ไม่สำคัญจำเป็นและไม่สร้างประโยชน์ใดๆ ออกจากกระบวนการการดำเนินการ และพัฒนาส่วนที่สร้างมูลค่าอย่างต่อเนื่อง 5 หลักการพื้นฐานของ Lean Management ในการใช้ระบบ Lean Management นั้นจะมีหลักการพื้นฐานอยู่ 5 ข้อด้วยกัน ที่จะช่วยปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างมูลค่าไปพร้อมกับการพัฒนากระบวนการทำงาน เป้าหมายและบุคลากรภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง กำหนดคุณค่า (Identify Value) หากต้องการเริ่มสร้างคุณค่าให้กับองค์กรหรือธุรกิจ อย่างแรกต้องตอบให้ได้ว่าคุณค่าขององค์กรคืออะไรกันแน่ สิ่งที่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะได้รับจากองค์กรคือคุณค่าแบบใดกันแน่ นับเป็นโจทย์แรกก่อนการเริ่มสร้างสินค้าหรือบริการเลยทีเดียว เพราะเมื่อได้คำตอบนี้แล้วการกำหนดเป้าหมายก็ไม่ใช่เรื่องยาก […]
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องกฎหมาย PDPA ที่เพิ่งมีการประกาศใช้ไปเมื่อ 1 มิถุนาที่ผ่านมาซึ่งการประกาศใช้ครั้งนี้เรียกว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับหลายองค์กรเลยทีเดียว เพราะในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA นั้นได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการดูแลข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นของพนักงานหรือของลูกค้าเองก็ตาม ต้องได้รับความคุ้มครองทั้งหมด แต่ทั้งนี้ในรายละเอียดของ PDPA ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการบันทึก ROPA กำหนดอยู่ด้วย ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ROPA คืออะไร วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอารายละเอียดเกี่ยวกับการทำบันทึก ROPA ว่าคืออะไรกันแน่ มีความสำคัญอย่างไร และที่สำคัญคือมีส่วนสำคัญหรือส่วนประกอบอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย ทำความรู้จักกับ ROPA ROPA ย่อมาจาก Records of Processing Activity คือบันทึกกิจกรรมของข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่ความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวไปจนถึงการใช้งาน โยกย้าย เรียกว่าจะต้องมีรายการบันทึกทุกความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะถูกจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบกระดาษหรือเอกสารที่จับต้องได้ หากเป็นข้อมูลส่วนบุคคลล้วนต้องมีการบันทึกความเคลื่อนไหวเก็บไว้ทุกรายการกิจกรรม ส่วนประกอบในการทำ ROPA ROPA สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบกระดาษ เพียงแค่ต้องมีการบันทึกกิจกรรมความเคลื่อนไหวเองไว้เท่านั้น โดยสิ่งที่ต้องบันทึกลงใน ROPA ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เก็บรักษาไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอ่อนไหว เช่นความคิดเห็นทางการเมือง […]
ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงทำให้ไลฟ์สไตล์การทำงานเปลี่ยนตามไปด้วย ทั้งยังได้เปลี่ยนความเชื่อเรื่องการทำงานที่มั่นคงในบริษัทยักษ์ใหญ่กลายเป็นความมั่นคงต้องสร้างด้วยความสามารถของตัวเอง โดยมีโจทย์ใหญ่คือความอิสระเข้ามาแทนที่อีกด้วย จึงมีการทำงานรูปแบบใหม่อย่าง Gig Worker เกิดขึ้น วันนี้ JOBCAN จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Gig Worker ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีความแตกต่างด้านสวัสดิการหรือไม่อย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย ทำความรู้จักกับ Gig Worker Gig Worker คือ รูปแบบการทำงานใหม่ที่เน้นการจ้างงานแบบชั่วคราว สัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์หรือเป็นคนที่ทำธุรกิจส่วนตัวแบบอิสระ ไม่มีลูกน้อง จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของการทำงานแบบ Gig Worker คือการทำแบบไม่ผูกมัดยาวนาน มีความมั่นคงอยู่ที่ความสามารถของตัวเอง หากต้องการท้าทายงานใหม่ก็สามารถทำได้เสมอ แน่นอนว่ารายได้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถด้วยเช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิด Gig Worker การเกิด Gig Worker นั้นนอกจากเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อให้สามารถรับและทำงานได้จากทุกมุมโลกแล้ว ยังมีปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญอยู่ด้วยกันอีก 2 ปัจจัย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยหลักของการเกิด Gig Worker เลยก็ว่าได้ วิถีชีวิต หรือ Lifestyle เทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามาในปัจจุบันทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นโลกที่กว้างมากขึ้น มาพร้อมกับโอกาสที่กว้างขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น โจทย์การใช้ชีวิตจึงเริ่มแตกต่างออกไป เพราะสามารถมองหาหนทางที่จะไม่ต้องรับแรงกดดันไปพร้อมกับการใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการได้ […]
สภาพแวดล้อมและสังคมการทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถดึงดูดให้พนักงานร่วมงานกับองค์กรหรือบริษัทนานมากขึ้น และยังสามารถเรียกให้คนที่มีศักยภาพหันมาสนใจในองค์กร แต่การสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วม โดยสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ การสร้าง Empathy Culture นั่นเอง วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอารายละเอียดเกี่ยวกับ Empathy Culture ว่าเป็นอย่างไร รวมถึงประโยชน์ของ Empathy Culture และวิธีการฝึกฝนว่าควรทำอย่างไรให้องค์กรมี Empathy Culture ทำความรู้จักกับ Empathy Culture Empathy Culture หรือวัฒนธรรมความเข้าใจผู้อื่น มาจากคำว่า Empathy ซึ่งมีความหมายว่าความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มาบวกกับคำว่า Culture ซึ่งแปลว่า วัฒนธรรม จึงแปลได้ว่า วัฒนธรรมความเข้าใจผู้อื่น โดยเป็นการสร้างความเอาใจเขามาใส่ใจเรา นั่นเอง ประโยชน์ของ Empathy Culture องค์กรที่มี Empathy Culture ย่อมมีความแตกต่างจากองค์กรที่ไม่มีอย่างมาก โดยเฉพาะบรรยากาศการทำงาน การร่วมมือและประสิทธิภาพของผลงานที่ได้ ซึ่งประโยชน์ของ Empathy Culture นั้นสามารถเห็นได้ชัดเจน 4 ข้อ ดังนี้ ทำให้เกิดความร่วมมือที่เข้ากันได้ดีมากขึ้น […]
ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หลายบริษัทหรือองค์กรจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาข้อมูลกันมากขึ้น ยิ่งเมื่อมีการประกาศใช้พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ยิ่งต้องมีการให้ความสำคัญมากขึ้นไปอีก จึงต้องมีการจัดตั้งทีมเข้ามาดูแลด้านนี้กันโดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้ชื่อว่า DPO วันนี้ JOBCAN จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ DPO คืออะไรกันแน่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง และทำไมทุกองค์กรควรมีการตั้งทีมนี้ขึ้น ไปดูกัน ทำความรู้จักกับ DPO คืออะไร DPO ย่อมาจาก Data Protection Office คือ คนที่เข้ามาดูแลปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวที่บ่งชี้ตัวตนได้โดยตรงหรือข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตนได้ในทางอ้อม ทั้งข้อมูลของพนักงานและข้อมูลของลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดนั่นเอง โดยผู้ที่เข้ามารับผิดชอบหน้าที่นี้จะต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย PDPA เป็นอย่างดีและยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของไอที ยิ่งไปกว่านั้นจะต้องมีความซื่อสัตย์และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการดูแลข้อมูลที่มีมูลค่าเหล่านี้ด้วย หน้าที่หลักของ DPO แน่นอนว่าทีม DPO นี้จะต้องมีหน้าที่ที่รับผิดชอบที่ชัดเจน โดยในมาตรา 42 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ได้กำหนดให้ DPO มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ในคำแนะนำเรื่อง PDPA ผู้ที่จะเป็น DPO ได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ […]
ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานได้มีความเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตและความจำเป็นของสถานการณ์ ทำให้การเข้าทำงานในออฟฟิศรูปแบบเดิมนั้นต้องปรับเปลี่ยนตามไป หลายแห่งมีการปรับเป็น Work from home เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายบางส่วน และหลายแห่งใช้วิธีการเช่า Virtual Office แทนการมีที่ตั้งบริษัทอย่างชัดเจน ทั้งยังเหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่อีกด้วย หลายคนอาจสงสัยว่า Virtual Office นั้นเป็นอย่างไรกันแน่ วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาข้อดีของ Virtual Office มานำเสนอให้ทุกคนได้รู้จัก แต่ก่อนอื่นต้องไปทำความรู้จักกับ Virtual Office ว่าแท้จริงคืออะไรกันแน่ ทำความรู้จักกับ Virtual Office Virtual Office คือ ออฟฟิศเสมือน ซึ่งเป็นบริการที่เจ้าของสถานที่เปิดพื้นที่ให้เช่าที่อยู่สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งบนพื้นที่แห่งนั้นสามารถจดทะเบียนบริษัทรวมถึงการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เรียกว่าสามารถทำหน้าที่ได้เสมือนเป็นออฟฟิศของบริษัทจริงๆ นอกจากการเปิดให้เช่าสถานที่แล้วยังมีการจัดสรรพื้นที่เป็นห้องทำงาน ห้องประชุม และมีพนักงานคอยอำนวยความสะดวกให้ด้วย 5 ข้อดีของ Virtual Office ด้วยการทำงานในยุคปัจจุบันที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ทำให้ Virtual Office เป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับบริษัทที่เพิ่งเกิดใหม่และเหล่าสตาร์ทอัพ เรามาดู 5 ข้อดีของ Virtual Office กันเลย ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย […]
ในสังคมที่เร่งรีบเช่นนี้ทำให้หลายคนต้องคอยรับผิดชอบหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อมกันจนทำให้เกิดความร้อนรนโดยไม่รู้ตัวพฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลร้ายให้กับตัวเองได้ในภายหลังอย่างการเป็นโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT นั่นเอง วันนี้ JOBCAN จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT (Attention Deficit Trait) ว่าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร และควรจะรับมืออย่างไรบ้าง ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT โรคสมาธิสั้นในคนทำงานหรือ ADT (Attention Deficit Trait) เป็นโรคที่คล้ายกับการเป็นโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD (Attention-deficit hyperactivity disorder) แต่ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยที่โรคสมาธิสั้น ADT นี้สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ อาการของโรคสมาธิสั้น อาการของโรคสมาธิสั้นคือ การที่ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ สมาธิจะวอกแวกได้ง่าย เมื่อมีสิ่งเร้าเกิดขึ้นก็พร้อมจะหันไปสนใจทันที โดยส่วนมากจะเป็นในคนที่ทำงานลักษณะ Multitasking หรือทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน ซึ่งอาการสมาธิสั้นนี้ยังส่งผลให้มีความอดทนต่ำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หรือคิดสร้างสรรค์ลดลง ประสิทธิภาพในการจัดลำดับความสำคัญของงานหรือแบ่งเวลาก็ลดลงตามไปด้วย และยังมีอาการเครียด กังวลหรือคิดถึงปัญหาอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นหรือ ADT นี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อมซึ่งโดยส่วนมากมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมไม่ดีที่ต้องทำงานอย่างรีบเร่งอยู่เสมอ อาจเป็นเพราะมีความรับผิดชอบหลายอย่างอยู่ในมือแต่ไม่มีการจัดเวลาที่ดีมากพอ ทำให้ไม่สามารถโฟกัสหรือมีสมาธิกับงานใดงานหนึ่งได้เพียงงานเดียว เมื่อเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็จะทำให้กลายเป็นโรคได้นั่นเอง วิธีการแก้ไขโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นอย่าง ADT นั้นสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ หรือจะทำเป็นกิจวัตรทุกวันก็ได้เช่นกัน […]
เมื่อเกิดโรคระบาดที่ทำให้การใกล้ชิดกันหรืออยู่ในพื้นที่หนาแน่นเป็นอันตรายได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเป็นการ Work from home เกิดขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปการระบาดของโรคร้ายอย่างโควิด ก็เริ่มมีการรับมือได้มากขึ้นและยังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานไปอีกขั้นหนึ่งด้วยเช่นกัน วันนี้ JOBCAN จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับรูปการทำงานใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากทีเดียว นั่นคือการ Workation จะเป็นการทำงานแบบใดและมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ไปดูกัน ทำความรู้จักกับ Workation Workation คือการผสมผสานคำว่า Work ที่แปลว่า ทำงาน เข้ากับคำว่า Vacation ที่แปลว่าพักร้อน เข้าด้วยกัน จึงกลายเป็นการทำงานในสถานที่ที่ต่างออกไปอย่างแหล่งท่องเที่ยว เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้ผ่อนคลายมากขึ้น โดยที่ไม่ลดความรับผิดชอบหรือเป้าหมายการทำงานลงแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างนั้นการทำ Workation นี้ก็ทำได้เพียงบางตำแหน่งหรือบางทีมเท่านั้น ต้องดูตามความเหมาะสม ความน่าสนใจของ Workation ความน่าสนใจของการ Workation นี้จะอยู่ที่การเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อยๆ นี้จะส่งผลอย่างไรต่อการทำงานได้บ้าง เราจึงจะมาดูกันว่าข้อดีหรือจุดที่น่าสนใจที่ทำให้หลายทีมพากัน Workation นี้คืออะไรกันแน่ มาดูกัน ลดความเครียดและเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำงาน บางทีบางครั้งการนั่งอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยมตลอดเวลาอาจกลายเป็นการสร้างแรงกดดันอันไร้รูปทำให้พนักงานไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานได้ ยิ่งกับคนที่ต้องการแรงบันดาลใจด้วยแล้ว ภาวะขาดแรงบันดาลใจนี้เรียกว่าลดความอยากในการทำงานได้มากทีเดียว ซึ่ง Workation สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอนเพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงย่อมทำให้สมองได้เปิดรับสิ่งใหม่อย่างไม่รู้ตัวเลย เปิดพื้นที่ให้คนบ้างานได้พักผ่อนบ้าง หลายคนที่รักการทำงานเป็นอย่างมากอาจมีความรู้สึกผิด เมื่อให้เวลาพักผ่อนกับตัวเองสักครั้งก็เป็นได้ แต่กับการ Workation นั้นจะต่างออกไปเพราะพนักงานสามารถแบ่งเวลาให้กับการทำงานที่เท่าเดิมคือ […]
หนึ่งในความรับผิดชอบของ HR หรือฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลคือ การดึงรั้งให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานที่สุดตราบเท่าที่ความสามารถของพนักงานสามารถช่วยขับเคลื่อนบริษัทได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจมีความผิดพลาดบางอย่างที่ HR ไม่ทันได้สังเกตซึ่งส่งผลให้พนักงานลาออกบ่อยขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากการลาออกของพนักงานเพียงคนเดียวแล้วจากนั้นก็ทยอยมาแจ้งกันเรื่อย ปัญหานี้ทำให้ HR ปวดหัวมากทีเดียว วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาวิธีการรับมือเมื่อพนักงานลาออกบ่อยจนทะลุขีดจำกัดมาฝากกัน ว่าควรจะเร่งทำอะไรบ้างเพื่อหยุดยั้งการลาออกนี้ ไปดูกัน สำรวจความเครียดในการทำงาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานลาออกบ่อยหรือติดต่อตามกันไปได้มาก คืองานที่ได้รับมอบหมายมีความเครียดหรือความกดดันมากเกินรับไหว ยิ่งเมื่อหนึ่งคนในทีมลาออก แปลว่างานที่ต้องรับผิดชอบส่วนหนึ่งจะตกไปที่สมาชิกคนอื่นๆ ในทีมด้วยแล้ว ไม่น่าแปลกใจที่จะมีการลาออกติดต่อกันตามมาเรื่อยๆ จนบริษัทประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ ดังนั้น สิ่งแรกที่ HR ต้องทำคือการสำรวจดูว่าการมอบหมายงานภายในแผนกมีการจัดการที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ก็ควรพูดคุยปรึกษากับหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกเพื่อจัดการให้เหมาะสม แต่หากมีการจัดการที่เหมาะสมแล้วแต่เนื้องานมีความกดดันอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ ควรสร้างพื้นที่ผ่อนคลายที่เหมาะสมให้กับพนักงานทดแทน อย่างเช่น ห้องพักผ่อน สวัสดิการนวดผ่อนคลาย เป็นต้น ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจ ว่าจะอยู่ต่อหรือลาออกของพนักงานส่วนใหญ่เลยทีเดียว เพราะการมีเพื่อนร่วมทีมที่เข้ากันได้ดีสามารถทำให้พนักงานแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีความขัดแย้งภายในทีมเกิดขึ้นก็อาจส่งผลให้มีพนักงานลาออกบ่อยมากขึ้น ยิ่งหากไม่รีบแก้ไขด้วยแล้วก็อาจทำให้องค์กรต้องสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถไปได้ หากมีการลาออกของพนักงานในทีมเดียวกันติดต่อกันแล้ว อย่างแรกที่ HR ควรสังเกตคือเรื่องของความสัมพันธ์ภายในทีมว่าสามารถเข้ากันได้ดีหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้องเป็นอย่างไร เพราะหากไม่สามารถควบคุมได้อาจเกิดการลาออกติดกันเป็นลูกโซ่ได้ สำรวจค่าตอบแทนต่อหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ทุกคน รวมถึง HR เองต่างก็ทำงานเพื่อค่าตอบแทนกันทั้งสิ้น ดังนั้นการที่พนักงานลาออกบ่อยในบางครั้ง อาจมีปัญหามาจากการให้ค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับเนื้องานที่ได้รับมอบหมายก็เป็นได้ […]
ในโลกที่ไร้พรมแดนมากขึ้นทุกวันทำให้ขอบเขตของโอกาสและการพิสูจน์ความสามารถขยายกว้างออกไปอย่างไร้ขีดจำกัดตามไปด้วย ยิ่งกับคนที่มีความสามารถต้องการเลือกโอกาสที่ดีกว่าย่อมต้องการออกไปเผชิญกับโลกการทำงานที่กว้างใหญ่มากขึ้นอย่างในต่างประเทศ แต่การไปทำงานต่างประเทศจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าจริงหรือ แล้วมีข้อควรคำนึงใดบ้างที่เราต้องรู้ก่อนจะไปกันบ้าง วันนี้ JOBCAN จึงได้นำเอาปัจจัยในการพิจารณาว่าการทำงานต่างประเทศนั้นเราควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง แล้วมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ไปดูกัน ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการทำงานต่างประเทศ ขึ้นชื่อว่าเป็นต่างประเทศต่อให้มีความเหมือนกันมากเท่าใดก็ย่อมมีจุดที่ต่างกันอยู่ดี แต่ว่ามีเริ่องอะไรบ้างที่ต้องเก็บความแตกต่างเหล่านั้นมาพิจารณาให้แน่ชัด เพื่อการพิจารณาหรือกระทั่งเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนงานไปทำงานต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมพร้อม เรื่องของเงินหรือต้นทุนที่ต้องใช้จ่ายนั้นไม่ว่าจะย้ายไปที่ใดก็มีเรื่องที่ต้องใช้เงินอย่างแน่นอน สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมเลยคือส่วนของเงินสำรองหรือเงินฉุกเฉิน เพราะหากเกิดความผิดพลาดหรือเหตุฉุกเฉินในต่างแดนจะได้สามารถมีตัวช่วยคอยช่วยได้อยู่ทางหนึ่งด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการสำรองเงินนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้วไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ค่าครองชีพที่แตกต่าง ทุกประเทศจะมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ ดังนั้น การทำงานในประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าประเทศไทยย่อมหมายถึงค่าครองชีพที่สูงกว่าตามไปด้วย ซึ่งในค่าครองชีพเหล่านี้บางครั้งอาจไม่ได้หมายถึงค่าอาหารหรือค่าเดินทางเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเช่น ค่าที่พักอาศัย ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น จึงควรศึกษาสิ่งแลกเปลี่ยนเหล่านี้ให้แน่ชัดเสียก่อน เพื่อจะสามารถคำนวณได้ว่าคุ้มค่ากับการย้ายไปทำงานต่างประเทศหรือไม่ ความแตกต่างของวัฒนธรรม หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราว culture shock หรือการตกใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างของต่างแดนกันมาบ้างแล้ว และในความแตกต่างเหล่านี้ย่อมมีทั้งเรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ ดังนั้นก่อนจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศก็ควรศึกษาเรื่องราวของประเทศนั้นๆ เอาไว้ก่อนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือให้มากที่สุด ข้อดีของการทำงานต่างประเทศ หนึ่งในการขยับขยายหน้าที่การงานที่ท้าทายที่สุดย่อมเป็นการออกไปตามหาประสบการณ์ด้วยการไปทำงานต่างประเทศอย่างแน่นอน นอกจากนี้แล้วยังมีข้อดีอะไรอีกบ้างไปดูกัน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ หากความสามารถมีอยู่มากแล้วการจะเลือกที่ทำงานที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมไม่ใช่เรื่องยากอย่างแน่นอน ยิ่งในประเทศที่มีการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ด้วยแล้ว การทำงานมักจะอยู่ในเงื่อนไขที่ให้พนักงานสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพักผ่อน การทำงาน หรือการมีครอบครัวจึงมีสวัสดิการที่ซับพอร์ตการใช้ชีวิตได้มากขึ้นตามไปด้วย และด้วยค่าครองชีพบวกกับภาวะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันทำให้ค่าตอบแทนอย่างเงินเดือนและโบนัสสูงกว่าประเทศไทยเราจนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่หลายคนเลือกจะไปท้าทายตัวเองที่ต่างประเทศนั่นเอง การพัฒนาในสายงานที่กว้างขึ้น หลายคนที่ต้องความท้าทายที่มากขึ้นในการทำงานนั้น เรียกได้ว่าการทำงานต่างประเทศเป็นคำตอบที่ใช่เลยโดยเฉพาะการเลือกบริษัทดังระดับโลก เพราะพาตัวเองไปสู่ตลาดที่ใหญ่มากขึ้นหรือแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะในสายงานใดก็ตามย่อมเป็นการพัฒนาความสามารถให้หลากหลาย และยังได้เรียนรู้ในมุมมองที่ต่างกันออกไปด้วย ประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย การไปทำงานต่างประเทศย่อมมอบประสบการณ์การใช้ชีวิตที่แตกต่างอย่างแน่นอน ทั้งการพบเจอผู้คน […]